การดีดบ้านหรือยกบ้านให้สูงหนีน้ำท่วมทำอย่างไร


“เชื่อว่าหลังจากน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ผ่านไปคงมีโอกาสได้ยินคำถามเรื่องการดีดบ้านให้สูงขึ้น ลองมาทำความรู้จักกันเลย”

การดีดบ้าน หรือการยกบ้านให้สูงขึ้น หมายถึงการยกตัวโครงสร้างทั้งหมดของบ้านให้มีระดับหนีน้าท่วมบ้าน เป็นสิ่งที่น่า สนใจ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงหากบ้านของเรามีโครงสร้างที่ไม่เหมาะสมเช่น บ้านที่มีน้ำหนักมาก อย่างคอนกรีตเสริมเหล็ก (หรือ บ้านปูน) โครงสร้างของบ้านจะยึดติดเป็นเนื้อเดียวกัน หากยกบ้านขึ้นแล้วตัวบ้านเอียง หรือบิด เพียงนิดเดียวบ้านก็จะแตกร้าวเสียหายวิบัติได้

นอกจากนั้น บ้านปูนที่มีนํ้าหนักมาก ทำให้ต้องมีเสาเข็มขนาดยาวมารับนํ้าหนักบ้าน เสาเข็มนี้ ส่วนใหญ่ จะเป็นเสาเข็มปูน ที่มีเหล็กเส้น ผูกติดยึดไว้กับตัวฐานราก เมื่อยกตัวบ้านขึ้น ก็เป็นเพียงการยกแต่ตัวบ้านไม่สามารถยกเสาเข็มขึ้นมาด้วยได้ การต่อฐานรากกับเสาเข็มใหม่นับเป็นเรื่องยาก แม้จะทำได้แต่ในอนาคตอาจมีปัญหาเรื่องบ้านทรุดบ้านร้าวได้ และยังมีปัญหาสำคัญที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมในเบื้องต้น ดังนี้คือ

  • ปัญหาเรื่องงานระบบ
    เมื่อต้องยกโครงสร้างทั้งหมดของบ้านให้สูงขึ้น งานระบบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น สายไฟฟ้า ท่อร้อยสายไฟฟ้า ท่อประปา ท่อน้ำทิ้ง จะต้องตัดออกทั้งหมด ก่อนจะต่อกลับเข้าไปใหม่หลังจากยกบ้านให้อยู่ในระดับที่ต้องการแล้ว ซึ่งแม้จะไม่ใช่เรื่องยากเมื่อเทียบกับการยกโครงสร้าง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักในการจัดการ โดยเฉพาะกับการดีดบ้านที่อยู่ในระดับพื้น เพราะท่อน้ำประปา กับท่อน้ำทิ้งจะอยู่ใต้พื้น ซึ่งหากยกโครงสร้างโดยไม่ตัดท่อเหล่านี้ออกก่อน ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างได้เช่นกัน
  • ปัญหาเรื่องภาระค่าใช้จ่าย
    สำหรับราคาค่าใช้จ่ายในการดีดบ้านนั้นขึ้นอยู่กับทั้งขนาด และน้ำหนักของตัวบ้าน รวมไปถึงระดับความสูงที่จะทำการยก ซึ่งโดยทั่วไปราคาจะอยู่ที่ประมาณ 20% ไปจนถึง 400% ของราคาของตัวบ้าน ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อพิจารณามาจนถึงข้อนี้ หากค่าใช้จ่ายมากกว่าราคาของตัวบ้าน การแก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยการดีดบ้านเพื่อหนีน้ำท่วมก็อาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก

การดีดบ้านต้องอยู่ภายใต้การดูแลของวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะในระหว่างดำเนินการดีดบ้านอาจเกิดปัญหาเฉพาะหน้าขึ้นได้ตลอดเวลา การที่มีผู้ที่มีประสบการณ์ในการดีดบ้านคอยควบคุมจะทำให้การตัดสินใจในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นไปได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

วิธีตกแต่งบ้านตามหลักฮวงจุ้ย
ข้อแตกต่างระหว่างคอนกรีตสำเร็จรูปกับคอนกรีตผสมมือ
ข้อดีข้อเสียของ บ้านโครงการ กับ บ้านสร้างเองบนที่ดิน
การใช้เสาเข็มชนิดตอกควรจะตอกห่างจะบ้านข้างเคียงเท่าไรดี
ข้อดีและข้อเสียต่างๆของไม้ปาร์เก้และไม้พื้นลามิเนต
บ้านจะต้องตอกเข็มหรือไม่ตรวจสอบอย่างไร
คบเด็กสร้างบ้าน : ระบบตรวจน้ำในคลองหลักในกรุงเทพฯ
ขั้นตอนการวางผังบ้านหรืออาคาร
10 เรื่องควรรู้ก่อนจะคิดจะต่อเติมบ้านหรือสร้างบ้าน
มาเช็คสุขภาพหลังคาก่อนหน้าฝนกันดีกว่า
เลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นอย่างไรให้ถูกวิธีและประหยัด
อยากจะมีถังเก็บน้ำในบ้านคุณทราบไหมว่าจะต้องมีขนาดเท่าไร ??
บันไดบ้านที่ถูกหลักฮวงจุ้ย
ต่อเติมบ้าน ตกแต่งบ้าน รีโนเวทบ้าน ต้องทำอย่างไรบ้าง
ต่อเติมบ้านในวันที่อากาศร้อนๆที่โครงการณุศาศิริ พระราม2
เทคนิคน่ารู้เกี่ยวกับกระเบื้องมุงหลังคาและการมุงหลังคา
ต่อเติมบ้านในวันที่อากาศร้อนๆที่ ณุศาศิริ พระราม2
อยากสร้างบ้านสักหลังทำอย่างไรดี ?
เรื่องสำคัญที่ควรรู้ ในการตรวจรับ บ้านและคอนโด
ประเภทของเครื่องปรับอากาศ ที่ใช้กันมีกี่ประเภท

About nucifer

วิศวกรโยธาปฎิบัตการ สำนักการโยธา กทม / วิศวกรบริษัทไอเดียแปลนสตูดิโอ ขายแบบบ้านสำเร็จรูปและสร้างบ้านด้วยใจ // รักบอลไทย และ เทคโนโลยี่ // สอบถามเรื่องบ้านได้ครับ