ประเภทของเครื่องปรับอากาศ ที่ใช้กันมีกี่ประเภท

เครื่องปรับอากาศทั่วไปที่ใช้ตามบ้านพักอาศัย และอาคารสำนักงานขนาดเล็ก ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดแบ่งได้เป็น 6 ประเภทใหญ่ๆดังนี้

1) แบบติดผนัง ( Wall type)

2) แบบตั้ง/แขวน ( Ceiling/floor type)

3) แบบตู้ตั้ง ( Package type)

4) แบบฝังเพดาน ( Built-in type)

5) แบบหน้าต่าง (Window type)

6) แบบเคลื่อนที่ ( Movable type)

รูปแบบการใช้งาน ข้อดี และข้อเสีย ของเครื่องปรับอากาศแต่ละประเภท

1) แบบติดผนัง ( Wall type) เป็นเครื่องปรับอากาศที่มีรูปแบบเล็กกะทัดรัด เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่น้อย เช่น ห้องนอน ห้องรับแขกขนาดเล็ก

ข้อดี:
• รูปแบบทันสมัย และมีให้เลือกหลากหลาย
• เงียบ
• ติดตั้งง่าย

ข้อเสีย:
• ไม่เหมาะกับงานหนัก เนื่องจากคอยล์เย็นมีขนาดเล็กส่งผลให้คอยล์สกปรก และอุดตันง่ายกว่าคอยล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า

2) แบบตั้ง/แขวน (Ceiling/floor type) เป็นเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่ตั้งแต่เล็ก เช่น ห้องนอน ไปจนถึงห้องที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น สำนักงาน ร้านอาหาร ห้องประชุม

ข้อดี:
• สามารถเลือกการติดตั้งได้ทั้งตั้งพื้น หรือแขวนเพดาน
• สามารถใช้งานได้หลากหลาย เข้าได้กับทุกสถานที่
• การระบายลมดี

ข้อเสีย:
• ไม่มีรูปแบบให้เลือกมากนัก

3) แบบตู้ตั้ง ( Package type) เป็นเครื่องปรับอากาศ ที่มีลักษณะคล้ายตู้ มีขนาดสูง และมีกำลังลมที่แรง เหมาะกับบริเวณที่มีคนเข้าออกอยู่ตลอดเวลา เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร

ข้อดี:
• ติดตั้งง่าย โดยสามารถตั้งกับพื้นได้เลย ไม่ต้องทำการยึด
• ทำความเย็นได้เร็วเนื่องจากมีเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดลมที่ใหญ่ ซึ่งให้กำลังลมที่แรงกว่า

ข้อเสีย:
• เสียพื้นที่ใช้สอย

4) แบบฝังเพดาน ( Built-in type) เป็นเครื่องปรับอากาศที่เน้นความสวยงามโดยการซ่อน หรือฝังอยู่ใต้ฝ้าหรือเพดานห้อง เหมาะกับห้องที่ต้องการเน้นความสวยงาม โดยที่ต้องการให้เห็นเครื่องปรับอากาศน้อยที่สุด

ข้อดี:
• สวยงาม โดยสามารถทำตู้ซ่อน หรือ ฝังเรียบไว้บนเพดานห้อง

ข้อเสีย:
• ติดตั้งยาก เนื่องจากต้องทำการฝังเข้าตู้ หรือเพดานห้อง
• การดูแลรักษาทำได้ไม่ค่อยสะดวก

5) แบบหน้าต่าง ( Window type) เป็นเครื่องปรับอากาศที่รวมทั้ง คอนเดนซิ่ง ยูนิต และ แฟนคอยล์ ยูนิต อยู่ในเครื่องเดียว ซึ่งสามารถติดตั้งโดยการฝังที่กำแพงห้องได้เลย โดยที่ไม่ต้องเดินท่อน้ำยา ดังนั้นการติดตั้งจึงต้องติดตั้งบริเวณช่องหน้าต่างหรือเจาะช่องที่ผนังแข็งแรง

ข้อดี:
• ประหยัดพื้นที่เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต
• ติดตั้งง่ายเพราะไม่ต้องเดินท่อน้ำยา
• ประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูงกว่าแบบอื่นๆ เนื่องไม่มีการเดินท่อน้ำยา ทำให้ไม่มีความร้อนแทรกซึมตามท่อน้ำยา

ข้อเสีย:
• มีเสียงดังจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์ และทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนของตัวเครื่องและผนัง
• ถ้าเครื่องมีขนาดขนาดใหญ่เกินไปจะมีปัญหาในการติดตั้ง เพราะบริเวณเพราะบริเวณช่องหน้าต่างไม่สามารถรับน้ำหนักมากได้

6) แบบเคลื่อนที่ ( Movable type) เป็นเครื่องปรับอากาศที่ไม่ต้องทำการติดตั้ง และสามารถเข็นไปใช้ได้ทุกพื้นที่ พูดง่ายๆก็คือสามารถเสียบปลั๊กใช้ได้เลย

ข้อดี:
• ขนาดกะทัดรัด
• ไม่ต้องติดตั้ง
• สามารถเข็นไปได้ใช้ได้ทุกพื้นที่ ทั้งในห้อง และกลางแจ้ง

ข้อเสีย:
• ใช้ได้กับห้องที่มีขนาดใหญ่ไม่มาก
• ประสิทธิภาพการทำความเย็นต่ำกว่า เนื่องจากเป็นระบบเปิดเมื่อนำไปใช้กลางแจ้ง

 

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับบ้านไม่ร้อน เย็นสบาย 365 วัน

อยากสร้างบ้านสักหลังทำอย่างไรดี ?

อยากจะมีถังเก็บน้ำในบ้านคุณทราบไหมว่าจะต้องมีขนาดเท่าไร ??

แปหลังคา อุปกรณ์สำคัญ ให้โครงสร้างบ้านแข็งแรง

กระเบื้องเซรามิคแท้ ตราช้าง Excella :ความงาม 3 สไตล์ของหลังคาที่ตอบทุกโจทย์ความเป็นคุณ

เมทัลชีท ข้อดีและข้อเสีย เมื่อนำแผ่นเมทัลชีทมามุงหลังคา

ก่อนต่อเติม อาคาร หรือ บ้าน ปรึกษาวิศวกรสักนิด ชิวิตจะมีความสุข !!

กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย : มาลองสัมผัสสองอารมณ์กับกระเบื้องหลังคา Contrazz ส่วนผสมของความต่างทว่...

ชนิดของท่อประปาและการดูแลท่อประปา

ปราบผู้รับเหมาให้อยู๋หมัด : ถ้าโดนผู้รับเหมาเบิกเงินก่อนทำงานทำอย่างไรดี!!!

สีทาบ้าน : มาทำความรู้จักกับสีทาบ้านกันดีกว่า

กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย : Zeason ความงามแห่งฤดูกาล ที่ตอบโจทย์ทุกอารมณ์ความเป็นคุณ

7 วิธี เพิ่มเสน่ห์ให้บ้านไทยประยุกต์

เกร็ดความรู้เรื่องการทาสีบ้าน

ข้อดีข้อเสียของ บ้านโครงการ กับ บ้านสร้างเองบนที่ดิน

กระเบื้องหลังคาตราช้าง CPAC Monier : สีสันที่สะท้อนสไตล์ความเป็นคุณ

อิฐมวลเบา : ข้อดีข้อเสียของ อิฐมวลเบา QCON SUPERBLOCK THAICON AIRBLOCK

ก่อนคิดจะทำผนังเบาจะต้องรู้อะไรบ้าง

ต่อเติมบ้าน ตกแต่งบ้าน รีโนเวทบ้าน ต้องทำอย่างไรบ้าง

HOME TIP บ้านร้อน ใช้แผ่นสะท้อนความร้อน หรือ ฉนวนกันความร้อนดี

พื้นไม้สำเร็จรูป เฌอร่า smartwood conwood ไม้จริง แบบไหนดีกว่ากัน

การดีดบ้านหรือยกบ้านให้สูงหนีน้ำท่วมทำอย่างไร

100 วิธีดีๆ ในการดูแลบ้าน ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย

ขั้นตอนการวางผังบ้านหรืออาคาร

คบเด็กสร้างบ้าน : ตอน ทำไงดีปั๊มน้ำที่บ้านทำงานทุกๆ 1 นาที !!!

รางน้ำ : เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียของ รางน้ำสังกะสี รางน้ำสแตนเลส รางน้ำอลูมิเนียมและรางน้ำไวนิล

การแก้ไขปัญหาอาคารทรุดตัวของอาคารเนื่องจากเสาเข็ม

อยากต่อเติมกันสาดที่บ้านมาดูว่ากันสาดมีกี่แบบ

กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย : ความอ่อนหวานนุ่มนวลที่แข็งแกร่ง Neo Class รสนิยมชีวิตที่นุ่มนวล

ตรวจสอบระบบไฟฟ้า บ้านมือสอง

ต่อเติมบ้านให้ถูกกฎหมายต้องทำอย่างไร

Home Tip : สูตรขัดบ้านหลังน้ำท่วมแบบสะอาดหมดจด

ข้อแตกต่างระหว่างคอนกรีตสำเร็จรูปกับคอนกรีตผสมมือ

ข้อแตกต่างระหว่างมุ้งลวดแบบบานเลื่อนกับแบบม้วนเก็บ

เลือกตู้เย็นให้เหมาะกับบ้าน

เลือกโคมไฟหน้าฝน...อย่าลืมดูค่า IP (มาตรฐานการป้องกันฝุ่นและความชื้น )

กระเบื้องหลังคาตราช้าง รุ่น พรีม่า มีอะไรดี ?

เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียราคา ของโครงหลังคาสำเร็จรูป และ โครงหลังคารูปพรรณ

วิธีตกแต่งบ้านตามหลักฮวงจุ้ย

นวัตกรรมหลังคาสวยแกร่งครบจบในหนึ่งเดียว กับระบบหลังคาตราช้าง

โปรแกรมช่วยออกแบบหรือตกแต่งภายใน Sweet Home 3D

เทคนิคน่ารู้เกี่ยวกับกระเบื้องมุงหลังคาและการมุงหลังคา

Home Tip : การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด

จะใช้แผ่นเมทัลชีทมุงหลังคาจะใช้แผ่นแบบไหนดี ราคาเท่าไร

การใช้เสาเข็มชนิดตอกควรจะตอกห่างจะบ้านข้างเคียงเท่าไรดี

ระบบหลังคาตราช้าง ขั้นสุดแห่งนวัตกรรมหลังคาทั้งระบบ

ก่อนจะต่อเติมบ้านในโครงการจะต้องรู้อะไรบ้าง

อิฐมวลเบา : ข้อดีข้อเสียของวิธีการผลิตอิฐมวลเบา แบบ AAC และ CLC

เปรียบเที่ยบข้อดีและข้อเสีย ของประตูหน้าต่างอลูมิเนียม กับ ประตูหน้าต่าง UPVC

มาเช็คสุขภาพหลังคาก่อนหน้าฝนกันดีกว่า

About nucifer

วิศวกรโยธาปฎิบัตการ สำนักการโยธา กทม / วิศวกรบริษัทไอเดียแปลนสตูดิโอ ขายแบบบ้านสำเร็จรูปและสร้างบ้านด้วยใจ // รักบอลไทย และ เทคโนโลยี่ // สอบถามเรื่องบ้านได้ครับ