อิฐมวลเบา : ข้อดีข้อเสียของวิธีการผลิตอิฐมวลเบา แบบ AAC และ CLC

อิฐมวลเบา : ข้อดีข้อเสียของวิธีการผลิตอิฐมวลเบา แบบ AAC และ CLC

สวัสดีครับเพื่อนที่น่ารักทุกๆคน วันนี้ผมจะมานำเสนอเรื่องราวของอิฐมวลเบานะครับ  จริงๆแล้วผมเคยเขียนเรื่องของการเปรียบเทียบระหว่าง อิฐมวลเบากับอิฐมอญนะครับ 

 
อิฐมวลเบา เป็นวัสดุก่อสร้างอีกตัวหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากในบ้านเรา ทำให้มีการแข่งขันกันผลิตอิฐมวลเบาออกมาหลายหลายยี้ห้อมากมาย ทำให้ทุกวันนี้ ผู้คนต่างก็เลือกกันไม่ถูก
เลยว่าจะใช้อิฐมวลเบายี่ห้อไหนดี  มีอะไรแตกต่างกันบ้าง วันนี้จะมีพูดถึงวิธีผลิตอิฐมวลเบานะครับ 
 
อิฐมวลเบา

 อิฐมวลเบาโดยทั่วไปอาจแบ่งตามกระบวนการผลิตได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

 

1. ระบบที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง (Non – Autoclaved System)

ซึ่งจะแบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 ใช้วัสดุเบากว่ามาทดแทน เช่น ขี้เลื่อย ขี้เถ้า ชานอ้อย หรือเม็ดโฟม ทำให้คอนกรีตมีน้ำหนักที่เบาขึ้น แต่จะมีอายุการใช้งานที่สั้นเสื่อมสภาพได้เร็ว และหากเกิดไฟไหม้ สารเหล่านี้อาจเป็นพิษต่อผู้อยู่อาศัย

ประเภทที 2 ใช้สารเคมี (Circular Lightweight Concrete) เพื่อให้เนื้อคอนกรีตฟู และทิ้งให้แข็งตัว คอนกรีตประเภทนี้จะมีการหดตัวมากกว่า ทำให้ปูนฉาบแตกร้าวได้ง่าย ไม่ค่อยแข็งแรง

คอนกรีตที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงนี้ส่วนใหญ่เนื้อผลิตภัณฑ์มักจะมีสีเป็นสีปูนซีเมนต์ ต่างจากคอนกรีตที่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงซึ่งจะมีเนื้อผลิตภัณฑ์เป็นผลึกสีขาว

2. ระบบอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง (Autoclaved System)

ซึ่งแบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้เป็น 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 Lime Base ใช้ปูนขาว ซึ่งควบคุมคุณภาพได้ยาก มาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตทำให้คุณภาพคอนกรีตที่ได้ไม่ค่อยสม่ำเสมอ มีการดูดซึมน้ำมากกว่า

ประเภทที่ 2 Cement Base ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต เป็นระบบที่นอกจากจะช่วยให้คอนกรีต มีคุณภาพได้มาตรฐานสม่ำเสมอแล้ว ยังช่วยให้เกิดการตกผลึก (Calcium Silicate) ในเนื้อคอนกรีตทำให้คอนกรีตมีความแข็งแกร่ง ทนทาน กว่าการผลิตในระบบอื่นมาก

 

 

การผลิตอิฐมวลเบาแบบ Autoclave Aerated Concrete (AAC)

การผลิตอิฐมวลเบาแบบ Autoclave Aerated Concrete (AAC) คือ  การผลิตอิฐมวลเบาในระบบ ระบบอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง (Autoclaved System) โดย เป็นประเภท cement best นั่นเอง 
 
ซึ่งการผลิตอิฐมวลเบา แบบนี้ จำเป็นจะต้องใช้เครื่องอบ โดยจุดเด่นอยู่ที่ การไล่ความชื้นออกไปจากตัวอิฐ ทำให้มีความทนทานและแข็งแรงเพิ่มขี้นและมีการหดตัวน้อยทำให้เมื่อฉาบผนังแล้วจะไม่ดูดความชื้นจากปูนฉาบทำให้ผนังแตกได้ 
 
โดย อิฐมวลเบา ยี่ห้อที่ใช้ระบบนี้ก็คือ  Q con , Smart block , ไทคอน 
production_line
รูปกระบวนการผลิต   ขอบคุณรูปจาก ไทคอน  ( http://www.thaiconproduct.com/production.php)

การผลิตอิฐมวลเบา ระบบ CLC ( Cellular Lightweight Concrete )

 

อิฐมวลเบา C-Lite ระบบ CLC ( Cellular Lightweight Concrete )  ประกอบด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์, ทราย, น้ำ และน้ำยา Foaming Agent ที่นำมาผสมกันในอัตราส่วน โดยนำน้ำยา Foaming Agent มาผ่านเครื่องอัดอากาศที่มีแรงดันสูงทำให้เกิดฟองอากาศขนาดเล็กมาก มีความสมดุลผสมและแทรกตัวอยู่ในเนื้อคอนกรีต ทำให้คอนกรีตมีน้ำหนักเบา ด้วยคุณลักษณะพิเศษที่เหนือกว่าคอนกรีตมวลเบาทั่วไป คือ มีอัตราการดูดซึมน้ำต่ำมาก สามารถก่อ-ฉาบ ได้ด้วยปูนก่อ-ปูนฉาบธรรรมดาทั่วไป ตอกตะปูได้ ไม่เกิดเชื้อรา ประหยัดเวลาและค่าแรงงาน  

 

โดยระบบ CLC ในความเห็นของผู้เขียนขอบอกว่าเป็นระบบแบบบ้านๆที่ ไม่ว่าใครๆที่มีเครื่องมือนิดหน่อยก็ทำได้แล้ว ลองดู คลิปได้เลยครับ 

 

ขอขอบคุณ คุณ โอ เองครับ  เจ้าของคลิป

แล้ว อิฐมวลเบาระบบไหนดีกว่ากัน !!!

ผู้เขียนของฟันธง ชัดๆๆไปเลยดังนี้นะครับ 
 
 
1. อิฐมวลเบาที่ผลิต ด้วยระบบ  AAC จะมีราคา ถูกกว่า CLC นิดหน่อย 
 
2. อิฐมวเบาที่ผลิตด้วยระบบ AAC จะดูดซึมน้ำมากกว่า CLC  
 
3. อิฐมวเบาที่ผลิตด้วยระบบ AAC มีน้ำหนักเบากว่า CLC
 
4. อิฐมวลเบาที่ผลิตด้วยระบบ AAC จะ ใช้ปูนก่อและฉาบ เฉพาะของอิฐมวลเบา  
 
5. อิฐมวลเบาที่ผลิตด้วยระบบ CLC จะ ใช้ปูนก่อและปูนฉาบทั่วไปได้ 
 
 
ลองพิจรณาข้อดีและข้อเสียดูนะครับ   

 

 

 

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ประตูไม้ เปรียบเที่ยบข้อแตกต่างระหว่างประตูไม้จริงกับประตูไม้สำเร็จ

บันไดบ้านที่ถูกหลักฮวงจุ้ย

พื้นไม้สำเร็จรูป เฌอร่า smartwood conwood ไม้จริง แบบไหนดีกว่ากัน

การใช้เสาเข็มชนิดตอกควรจะตอกห่างจะบ้านข้างเคียงเท่าไรดี

ตอบปัญหาก่อสร้าง : บ้านของผมมีปัญหาน้ำรั่ว พยามอุดรอยรั่วด้วยวิธีต่างๆแล้วยังไม่หายสนิท ทำอย่างไรดี

นวัตกรรมหลังคาสวยแกร่งครบจบในหนึ่งเดียว กับระบบหลังคาตราช้าง

10 คำแนะนำสำหรับ การหนีเพลิงไหม้อาคารสูง

ต่อเติมบ้านให้ถูกกฎหมายต้องทำอย่างไร

อุปกรณ์หลังคา : เติมฟังก์ชั่นให้บ้าน เพิ่มเสน่ห์ใหม่บนผืนหลังคา

เลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นอย่างไรให้ถูกวิธีและประหยัด

5 ข้อควรรู้ ก่อนคิดจะซื้อกระเบื้องหลังคาไทยประยุกต์

ระยะเวลาการสร้างบ้าน จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง

อยากสร้างบ้านสักหลังทำอย่างไรดี ?

ชนิดของท่อประปาและการดูแลท่อประปา

เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียและราคา กระเบื้องมุงหลังคาตราช้างตราเพชรตราห้าห่วง และอื่นๆ (part1)

จะใช้แผ่นเมทัลชีทที่มีฉนวนแบบไหนมุงหลังคาบ้านดี ราคาเท่าไร

23 เคล็ดลับวิธีการเลือกซื้อ LCD TV และ LCD Monitor

HOME TIP : เชื่อหรือไม่ก่อนสร้างบ้านคุณควรจะเลือกโถส้วมก่อน

สีทาบ้าน : มาทำความรู้จักกับสีทาบ้านกันดีกว่า

ข้อดีข้อเสียของ บ้านโครงการ กับ บ้านสร้างเองบนที่ดิน

หลังคากระเบื้องแผ่นเรียบ ความสวยงามที่เรียบหรู

Home Tip : สูตรขัดบ้านหลังน้ำท่วมแบบสะอาดหมดจด

กระเบื้องเซรามิคแท้ ตราช้าง Excella : บททดสอบความงามข้ามกาลเวลา

รางน้ำ : เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียของ รางน้ำสังกะสี รางน้ำสแตนเลส รางน้ำอลูมิเนียมและรางน้ำไวนิล

กระเบื้องลอนคู่กับแผ่นเมทัลชีท ใช้อะไรดี !!!

เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียและราคา ไม้สำเร็จรูปเฌอร่า ไม้สำเร็จรูปคอนวูด และไม้สำเร็จรูปตรงช้างสมาร์ทวู...

ต่อเติมบ้าน ตกแต่งบ้าน รีโนเวทบ้าน ต้องทำอย่างไรบ้าง

MINIMALIST DNA by NEUSTILE

ถมที่ : เปรียบเที่ยบ ข้องดีข้อเสีย ของการถมที่ดินกับการไม่ถมที่ดินสำหรับการสร้างบ้าน และอาคาร

ข้อแตกต่างระหว่างมุ้งลวดแบบบานเลื่อนกับแบบม้วนเก็บ

ต่อเติมบ้าน ต่อเติมห้องครัว ต่อเติมระเบียง ทำอย่างไรจะไม่ทรุด !!!

กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย : มาลองสัมผัสสองอารมณ์กับกระเบื้องหลังคา Contrazz ส่วนผสมของความต่างทว่...

การเปรียบเทียบคุณสมบัติและราคาของ วีว่าบอร์ด กับสมาร์ทบอร์ด

ตัวอย่างการติดตั้งระบบสายดินและเครื่องตัดไฟรั่วของที่พักอาศัย

อยากมีบ้านมาลองออกแบบบ้าน online กับ AMIKASA

อยากต่อเติมกันสาดที่บ้านมาดูว่ากันสาดมีกี่แบบ

ระบบหลังคาตราช้าง สร้างความสุขให้บ้านคุณอย่างไร

การแก้ไขปัญหาอาคารทรุดตัวของอาคารเนื่องจากเสาเข็ม

กระเบื้องหลังคา เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสีย ราคา กระเบื้องหลังคาตราช้างตราเพชร และอื่น (part2)

ก่อนต่อเติม อาคาร หรือ บ้าน ปรึกษาวิศวกรสักนิด ชิวิตจะมีความสุข !!

วิธีตกแต่งบ้านตามหลักฮวงจุ้ย

5 เหตุผลว่าทำไมต้องเป็นบ้านทรงไทยประยุกต์

เมื่อฝนตก น้ำสามารถรั่วเข้าบ้านโดยทางใดบ้าง และต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง

เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียราคา ของโครงหลังคาสำเร็จรูป และ โครงหลังคารูปพรรณ

เทคนิคน่ารู้เกี่ยวกับกระเบื้องมุงหลังคาและการมุงหลังคา

ข้อดีและข้อเสียต่างๆของไม้ปาร์เก้และไม้พื้นลามิเนต

เปรียบเที่ยบข้อดีและข้อเสีย ของประตูหน้าต่างอลูมิเนียม กับ ประตูหน้าต่าง UPVC

10 เรื่องควรรู้ก่อนจะคิดจะต่อเติมบ้านหรือสร้างบ้าน

HOME TIP : การดูแลสวนสวยๆของเราในฤดูร้อน

เรื่องสำคัญที่ควรรู้ ในการตรวจรับ บ้านและคอนโด

About nucifer

วิศวกรโยธาปฎิบัตการ สำนักการโยธา กทม / วิศวกรบริษัทไอเดียแปลนสตูดิโอ ขายแบบบ้านสำเร็จรูปและสร้างบ้านด้วยใจ // รักบอลไทย และ เทคโนโลยี่ // สอบถามเรื่องบ้านได้ครับ