6 สิ่งที่ควรรู้ก่อนสร้างบ้านในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว

6 สิ่งที่ควรรู้ก่อนสร้างบ้านในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว

สวัสดีครับผู้เขียนได้เจอหนังสือของกรมโยธาธิการเกี่ยวกับการสร้างอาคารขนาดเล็กในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวซึ่งมีประโยชน์มากๆสำหรับเพื่อนเพื่อนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวได้แก่หลายจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคกลางบางส่วน และภาคใต้บางส่วนจริงๆแล้วผู้เขียนว่าไม่ว่าจะอยู่ในจังหวัดไหนในประเทศเราควรจะรู้ข้อมูลเบื้องต้นนี้ไว้ดีที่สุดผู้เขียนจึงสรุปมาง่ายๆ 6 ข้อ ที่ทุกๆคนควรรู้ก่อนที่จะสร้างบ้านหรืออาคารในที่เสียงแผ่นดินไหว

 


 

1 ตำแหน่งที่ตั้งของอาคารในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว

บริเวณที่ไม่ควรก่อสร้างอาคารได้แก่บริเวณที่เป็นเชิงลาดบริเวณใกล้แนวลอยเลื่อนและบริเวณที่ใกล้กับต้นไม้ใหญ่ดังที่แสดงในรูป 

ตำแหน่งที่ตั้งของอาคาร

 

 

2 รูปทรงและลักษณะของอาคารในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว

การออกแบบรูปทรงลักษณะของอาคารในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวควรกำหนดให้เป็นแบบเรียบง่าย เช่น อาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมหรือทรงกลมเป็นต้น ควรเรื่องการปลูกสร้างอาคารที่มีลักษณะเป็นมุมหัก ลองดูกันดังตามรูปนะครับ

รูปทรงและลักษณะของอาคาร

3 ช่องเปิดของอาคารในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว

สำหรับช่องเปิดของอาคารหากว่างขนาดและตำแหน่งของช่องเปิดไม่เหมาะสมจะเกิดพฤติกรรมการวิบัติของเสาสั้นหรืออาคารบางส่วนมีการเคลื่อนตัวมากเกินไปทำให้เกิดการแตกร้าวอย่างเช่นลักษณะตามรูปด้านล่างวิธีการแก้ไขควรทำเสาร์เอ็นและคาน / หลังคอนกรีตลอดช่องเปิดต่างๆให้มีความหนาเท่ากับความหนาของผนัง และขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตรเพื่อป้องกันการแตกร้าวจากการสั่นสะเทือน

ช่องเปิดของอาคาร

 

ช่องเปิดของอาคาร2

 

4 ระบบโครงสร้างของอาคารในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว

 

4.1 ฐานราก

กรณีทีใช้ฐานรากเสาเข็มต้องมีการเชื่อมยึด ที่เพียงพอระหว่างฐานรากและเสาเข็ม และคำนึงถึงความสามารถในการรับแรงด้านข้างของเสาเข็มแต่ละต้นด้วย ตัวอย่างรายละเอียดการเสริมเหล็กในฐานรากเสาเข็ม ดังแสดง
อยู่ในรูป

กรณีที่ใช้ฐานรากแผ่จะต้องตั้งอยู่บนชั้นดินเดิมที่มีกำลังแบกทานสูง และต้องมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะสามารถถ่ายเทน้ำาหนักจากโครงสร้างอาคารส่วนบนสู่ดินฐานรากได้อย่างปลอดภัย โดยขนาดความหนาขั้นต่ำสุดของฐานรากแผ่ต้องไม่น้อยกว่า 0.20 เมตร และมีระดับความลึกที่ฝังในดินจากระดับผิวดินถึงระดับต่ำาสุดของฐานรากไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร

 

ฐานราก

4.2 เสาตอม่อ

พื้นชั้นล่างของอาคารอยู่อาศัยบางหลังมีการยกพื้นให้สูงขึ้น และส่วนใต้พื้นบ้านชั้นล่างมีลักษณะเป็นใต้ถุนเปิดโล่ง ไม่มีการก่อผนังปิด ทำาให้เสาตอม่อของอาคารที่อยู่ระหว่างฐานรากและพื้นชั้นล่างไม่มีการยึดโยง
ที่เพียงพอ เมื่ออาคารเกิดการโยกตัวอย่างรุนแรงจากแผ่นดินไหว หากเสาตอม่อไม่สามารถทนต่อการโยกได้ก็อาจเกิดความเสียหายเป็นอันตราย การออกแบบจึงต้องมีการเสริมเหล็กให้เพียงพอในเสาตอม่อ รวมถึงอาจติดตั้ง ตัวยึดโยงหรือกำาแพงคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อให้เสาตอม่ออาคารอยู่อาศัยมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างแสดงในรูป

ตอม่อกันแผ่นดินไหว

 

4.3 เสา

สำหรับเสาของอาคารขนาดเล็กหรืออาคารอยู่อาศัยคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีขนาดเล็กและสูงไม่เกิน 2 ชั้นขนาดของเสาไม่ควรน้อยกว่า 20 เซนติเมตร และพื้นที่หน้าตัดเหล็กเสริมตามยาวของเสาไม่ควรน้อยกว่าร้อยละ 1 และไม่ควรมากกว่าร้อยละ 6 ของพื ้นที ่หน้าตัดทั ้งหมดของเสา เหล็กเสริมตามยาวไม่ควรมีขนาดเล็กกว่า 12 มิลลิเมตร จำนวนไม่น้อยกว่า 4 เส้นและมีการเสริมเหล็กปลอกที ่มีระยะห่างไม่เกิน 10 เซนติเมตร ที ่บริเวณโคนเสาทั ้งด้านบน และด้านล่าง ของอเหล็กปลอกควรเป็นของอ 135 องศา ดังตัวอย่างแสดงในรูป

คานป้องกันแผ่นดินไหว

4.4 คาน

สำาหรับคานของอาคารขนาดเล็กหรืออาคารอยู่อาศัยที่มีความยาวไม่เกิน 5 เมตร หน้ากว้างของคานไม่ควรน้อยกว่า 15 เซนติเมตร เหล็กเสริมตามยาวไม่ควรมีขนาดเล็กกว่า 12 มิลลิเมตร และมีการเสริมเหล็กปลอก
ที่มีระยะห่างไม่เกินกว่า 10 เซนติเมตร ที่บริเวณปลายคานทั้งสองข้าง รวมทั้งส่วนปลายของอของเหล็กปลอกจะต้องมีระยะยื ่นไม่น้อยกว่า 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กปลอก ของอเหล็กปลอกควรเป็นของอ 135 องศา ดังตัวอย่างแสดงในรูป

 

คานป้องกันแผ่นดินไหว2

 4.5  ข้อต่อระหว่างเสาและคาน

เหล็กเสริมตามยาวและเหล็กปลอกของเสาและคานจะต้องมีปริมาณเพียงพอในบริเวณข้อต่อระหว่างเสาและคานที่จะรัดรอบแกนคอนกรีต ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหนียวและสามารถต้านทานแรงเฉือนที่เกิดขึ้น
จากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้ โดยระยะเรียงของเหล็กปลอกในเสาและในคานบริเวณข้อต่อดังกล่าวไม่ควรเกิน 10 เซนติเมตร และควรเพิ่มเหล็กปลอกในเสาบริเวณข้อต่ออีก 3 ปลอก ดังตัวอย่างในรูป

เสาคานป้องกันแผ่นดินไหว

4.6 โครงหลังคา

การยึดส่วนต่างๆ ของโครงหลังคา ไม่ว่าจะเป็นหลังคา แป จันทัน อกไก่ หรืออเส จะต้องมีการยึดอย่างมั่นคงนอกจากนี้ควรทำการยึดโยง (Bracing) โครงหลังคาให้มีเสถียรภาพในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ตามตัวอย่างในรูป

โครงหลังคากันแผ่นดินไหว

5 ผนังก่ออิฐของอาคารในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว

 

การก่อสร้างผนังก่ออิฐของอาคารจะต้องมีการยึดส่วนผนังเข้ากับส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร อย่างมั่นคง และเป็นไปตามหลักปฏิบัติทางช่างที่ถูกต้อง ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) ก่อนจะก่อผนังให้ราดน้ำบนอิฐที่จะก่อให้ชุ่ม เพื่อมิให้อิฐดูดซับน้ำจากปูนก่อมากเกินไป จนเป็นเหตุให้เนื้อปูนร่วนได้

(2) ผนังที ่ก่อต้องได้แนวทั ้งในแนวราบและในแนวดิ ่ง โดยการถ่ายระดับน้ำ  ขึงเชือกเอ็น และใช้ดิ่งทุกความสูงไม่เกิน 50 เซนติเมตร การก่ออิฐแต่ละครั้งไม่ควรสูงเกินกว่า 1.00 เมตร และปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย 3 ชั่วโมง
จึงจะก่อต่อไปได้

(3) ปูนก่อระหว่างอิฐควรมีความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร โดยปูนก่อจะต้องก่อเต็มหน้าแผ่นอิฐและแต่งแนวให้เรียบ

(4) ผนังที่ก่อชนเสาจะต้องมีการยึดผนังก่ออิฐเข้ากับเสา โดยจัดเตรียมให้มีการฝังเหล็กเสริมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร ไว้ในเสาทุกระยะ ห่างไม่เกิน 60 เซนติเมตร ยาวจากขอบเสาไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร (ดังแสดงในรูป) หากไม่ได้มีการเตรียมฝังเหล็กเสริมไว้หรือฝังเหล็กเสริมไว้แต่ไม่ตรงแนวผนัง ให้เจาะรูสำหรับเสียบเหล็กเสริมโดยรูที่เจาะมีความลึกไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตรและเสียบเหล็กโดยใช้น้ำยาเคมีหรือกาวอีพ็อกซี่ ห้ามไม่ให้เจาะรูโดนเหล็กเสริมในเสา

 

 

 

ก่ออิฐป้องกันแผ่นดินไหว

(5) ผนังก่ออิฐที่ยาวเกินกว่า 3.00 เมตร จะต้องมีเสาเอ็น และผนังก่ออิฐที่มีความสูงเกินกว่า 2.50 เมตรจะต้องมีคานทับหลัง โดยเสาเอ็นและคานทับหลังต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร มีความหนา
เท่ากับความหนาของผนังที่ก่อ และเสริมเหล็กตามยาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 มิลลิเมตร จำนวน2 เส้น และเหล็กปลอก (ลูกโซ่) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร ทุกระยะห่างไม่เกินกว่า 20 เซนติเมตร เหล็กเสริมตามยาวของเสาเอ็นหรือคานทับหลังให้ฝังลึกในโครงสร้างพื้ น คาน หรือเสา ซึ่งอาจทำได้โดยการฝังเหล็กเสริมในโครงสร้างเตรียมไว้ก่อนที่จะเทคอนกรีต หากไม่ได้มีการฝังเหล็ก เสริมดังกล่าวเตรียมไว้ ให้ใช้วิธีตามที่ระบุใน (4)
(6) มุมผนังก่ออิฐ หรือปลายผนังที่ก่อไม่ชนกับเสาหรือท้องคาน จะต้องมีเสาเอ็นหรือคานทับหลัง ที่มี ขนาดและรายละเอียดการเสริมเหล็กตามระบุใน (5)
(7) ไม่ควรก่อผนังอิฐที่จั่วหลังคา ควรใช้ผนังที่ทำจากวัสดุอื่นที่มีน้ำาหนักเบากว่า เช่น ไม้ ไม้สังเคราะห์ หรือ กระเบื้องแผ่นเรียบ 
(8) การก่อผนังคอนกรีตบล็อก คอนกรีตประเภทมวลเบา หรือผนังสำเร็จรูปต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน หรือคำแนะนำของผู้ผลิตวัสดุนั้นๆ

ก่ออิฐป้องกันแผ่นดินไหว2

 

6 วัสดุก่อสร้างอาคาร

วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารโดยเฉพาะส่วนโครงสร้างต้องมีความแข็งแรงและคงทน โดยทั่วไปอาคาร ที่มีน้ำาหนักน้อยจะได้รับผลกระทบจากแรงแผ่นดินไหวน้อยกว่าอาคารที่มีน้ำหนักมาก นอกจากนี้ต้องคำนึงถึง จุดเชื่อมต่าง ๆ ให้มีความสามารถในการถ่ายแรงได้อย่างสมบูรณ์ด้วย

วัสดุก่อสร้างป้องกันแผ่นดินไหว

 

 

ผู้เขียนได้สรุปง่ายๆจำนวน 6 ข้อให้เพื่อนเพื่อนลองตรวจสอบตามทั้ง 6 ข้อนี้ก่อนที่จะสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวหากเพื่อนๆคนไหนไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวก็สามารถเสริมโครงสร้างของอาคารของท่านได้ซึ่งผู้เขียนหวังว่าประเทศไทยของเราก็คงจะไม่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงเหมือนในต่างประเทศขอให้เพื่อนเพื่อนทุกคนตระหนักถึงความสำคัญกับภัยแผ่นดินไหวที่เข้าใกล้ตัวเรามาทุกขณะแล้ว

 

ที่มา – กรมโยธาธิการและฝังเมือง (http://www.dpt.go.th/images/stories/pdf/read/manual_buliding570915.pdf)

 

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

วิธีดูรอยร้าวของผนังบ้านว่าเกิดจากสาเหตุอะไร !!!
กระเบื้องหลังคาตราช้าง CPAC Monier : สีสันที่สะท้อนสไตล์ความเป็นคุณ
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียราคา ของโครงหลังคาสำเร็จรูป และ โครงหลังคารูปพรรณ
แปหลังคา อุปกรณ์สำคัญ ให้โครงสร้างบ้านแข็งแรง
กระเบื้องหลังคาตราช้าง รุ่น พรีม่า มีอะไรดี ?
กระเบื้องหลังคา เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสีย ราคา กระเบื้องหลังคาตราช้างตราเพชร และอื่น (part2)
ชนิดของท่อประปาและการดูแลท่อประปา
รางน้ำ : เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียของ รางน้ำสังกะสี รางน้ำสแตนเลส รางน้ำอลูมิเนียมและรางน้ำไวนิล
อยากมีบ้านมาลองออกแบบบ้าน online กับ AMIKASA
กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย : Triple Tone ความสงบที่เข้าถึงทุกอารมณ์ของธรรมชาติ
เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียและราคา กระเบื้องมุงหลังคาตราช้างตราเพชรตราห้าห่วง และอื่นๆ (part1)
โอ้ยอยากมีผนังปูนเปลือยเหมือนบ้าน Modern จัง แล้วทำอย่างไรละ ไปดูกัน
จะใช้แผ่นเมทัลชีทมุงหลังคาจะใช้แผ่นแบบไหนดี ราคาเท่าไร
HOME TIP : การดูแลรักษาพื้นไม้ลามิเนต
HOME TIP - ระบบกำจัดปลวกวิธีต่างๆ
ข้อแตกต่างระหว่างมุ้งลวดแบบบานเลื่อนกับแบบม้วนเก็บ
กระเบื้องเซรามิคแท้ ตราช้าง Excella :ความงาม 3 สไตล์ของหลังคาที่ตอบทุกโจทย์ความเป็นคุณ
เมื่อฝนตก น้ำสามารถรั่วเข้าบ้านโดยทางใดบ้าง และต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง
เกร็ดความรู้เรื่องการทาสีบ้าน
ข้อแตกต่างระหว่างคอนกรีตสำเร็จรูปกับคอนกรีตผสมมือ
เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียและราคา ไม้สำเร็จรูปเฌอร่า ไม้สำเร็จรูปคอนวูด และไม้สำเร็จรูปตรงช้างสมาร์ทวู...
เทคนิคน่ารู้เกี่ยวกับกระเบื้องมุงหลังคาและการมุงหลังคา
หลังคาบ้านทรงไทยประยุกต์ ที่ผู้ใช้ต่างรู้จริง…รักจริง
เสาเข็มที่ใช้สำหรับบ้านที่ต้องการต่อเติม : เสาเข็มไมโครไพล์ ( micro pile )
HOME TIP : เชื่อหรือไม่ก่อนสร้างบ้านคุณควรจะเลือกโถส้วมก่อน
เรื่องสำคัญที่ควรรู้ ในการตรวจรับ บ้านและคอนโด
กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย : มาลองสัมผัสสองอารมณ์กับกระเบื้องหลังคา Contrazz ส่วนผสมของความต่างทว่...
โปรแกรมช่วยออกแบบหรือตกแต่งภายใน Sweet Home 3D
HOME TIP บ้านร้อน ใช้แผ่นสะท้อนความร้อน หรือ ฉนวนกันความร้อนดี
คบเด็กสร้างบ้าน : ตอน ทำไงดีปั๊มน้ำที่บ้านทำงานทุกๆ 1 นาที !!!
เมทัลชีท ข้อดีและข้อเสีย เมื่อนำแผ่นเมทัลชีทมามุงหลังคา
ข้อดีข้อเสียของ บ้านโครงการ กับ บ้านสร้างเองบนที่ดิน
ปราบผู้รับเหมาให้อยู๋หมัด : ถ้าโดนผู้รับเหมาเบิกเงินก่อนทำงานทำอย่างไรดี!!!
การใช้เสาเข็มชนิดตอกควรจะตอกห่างจะบ้านข้างเคียงเท่าไรดี
10 คำแนะนำสำหรับ การหนีเพลิงไหม้อาคารสูง
ซื้อบ้านอย่างไรให้ผ่อนสบายกระเป๋า
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียและราคา พื้นสำเร็จวีว่าบอร์ด เฌอร่าบอร์ด สมาร์ทบอร์ และทีพีไอบอร์ด
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของโครงหลังคากันสาดที่ทำจาก เหล็ก สแตนเลส ไม้จริงและไม้เทียม
Home Tip : สูตรขัดบ้านหลังน้ำท่วมแบบสะอาดหมดจด
มาเช็คสุขภาพหลังคาก่อนหน้าฝนกันดีกว่า
ก่อนคิดจะทำผนังเบาจะต้องรู้อะไรบ้าง
อิฐมวลเบา : ข้อดีข้อเสียของ อิฐมวลเบา QCON SUPERBLOCK THAICON AIRBLOCK
เลือกตู้เย็นให้เหมาะกับบ้าน
อุปกรณ์หลังคา : เติมฟังก์ชั่นให้บ้าน เพิ่มเสน่ห์ใหม่บนผืนหลังคา
วิธีป้องกันบ้านร้อน
สีทาบ้าน : มาทำความรู้จักกับสีทาบ้านกันดีกว่า
ต่อเติมบ้าน ตกแต่งบ้าน รีโนเวทบ้าน ต้องทำอย่างไรบ้าง
การซ่อมแซมฝ้าเพดานสำหรับบ้านเก่าหรือบ้านมือสอง
เปรียบเที่ยบข้อดีและข้อเสีย ของประตูหน้าต่างอลูมิเนียม กับ ประตูหน้าต่าง UPVC
ตัวอย่างการติดตั้งระบบสายดินและเครื่องตัดไฟรั่วของที่พักอาศัย

About nucifer

วิศวกรโยธาปฎิบัตการ สำนักการโยธา กทม / วิศวกรบริษัทไอเดียแปลนสตูดิโอ ขายแบบบ้านสำเร็จรูปและสร้างบ้านด้วยใจ // รักบอลไทย และ เทคโนโลยี่ // สอบถามเรื่องบ้านได้ครับ