การใช้เสาเข็มชนิดตอกควรจะตอกห่างจะบ้านข้างเคียงเท่าไรดี
สวัสดีครับเพื่อนๆ เนื่องจากติดภารกิจอบรมและทำกิจกรรมต่างๆของหน่วยงานเลยไม่ได้มีเวลา เขียน blog เลย แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีประชาชน ได้สอบถามเข้ามาว่า ตัวเขาสร้างบ้านอยู๋ในเขตกรุงเทพมหานคร และได้ทำการสร้างบ้าน โดยใช้เสาเข็มชนิด ” ตอก ” ทำให้ข้างบ้านร้องเรียนว่าทำไม่ได้ ขัดกับกฎหมาย โดยให้เปลี่ยนไปใช้เสาเข็มชนิด “เจาะ” ประเด็นก็คือ ผู้รับเหมาเอาเข็มเข้ามาแล้วและเริ่มตอกเข็มแล้ว ไม่อยากเปลี่ยนเข็ม พอจะมีทางแก้ไขอย่างไรบ้าง
ขัดกับ กฏหมายอะไรบ้าง
ถ้าดูในกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็จะมี พรบ ควบคุมอาคาร ปี 2522 พระราชบัญญํติกรุงเทพมหานคร ควบคุมอาคารปี 2544 และประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องกําหนดหลักเกณฑในการกอสรางอาคารและสาธารณูปโภค ปี2539 ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้ว ใน พรบ ควบคุมอาคารปี2522 และพระราชบัญญัติกรุงเทพมหานคร ปี2544ไม่ได้ระบุระยะห่างของการทำเสาเข็มตอก ว่าจะต้องห่างจากบ้านข้างเคียงเท่าไร แต่มีใน ประกาศกรุงเทพมหานครปี2539 ข้อ ๔.๘.๓ ถ้าตําแหน่งของเสาเข็มอยูห่างจากอาคารน้อยกว่า ๓๐ เมตร ให้ใช้ระบบเสาเข็มที่มีการเจาะดินออกบ้างหรือทั้งหมด
แล้วกฎหมายที่เกี่ยวข้องบังคับใช้ได้จริงไหม
ผู้เขียนได้พยามค้นหาข้อมูลมา นอกจากประกาศกรุงเทพมหานครฉบับนี้แล้วยังไม่มีกฎหมายตัวไหนที่จะพูดถึงระยะการตอกเข็มที่ห่างจากบ้านข้างเคียง เลย ทั้งนี้ได้มีข้อมูลผลการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ ของกระทรวงมหาดไทย แจ้งว่าประกาศของ กทม. ดังกล่าวนี้ ไม่มีผลบังคับใช้ได้แล้ว เพราะว่ามีข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ.2544 ออกมาบังคับใช้เมื่อ 31 ก.ค.2544 ซึ่งเนื้อหาต่าง ๆ ในประกาศ กทม. ปี 2539 ได้ถูกบัญญัติไว้ในข้อบัญญัติ กทม.ปี 2544 แล้ว ทำให้ประกาศ กทม. ดังกล่าวถูกยกเลิกไปโดยผลของกฎหมาย แต่เท่าที่ทราบข้อมูล ขณะนี้ทาง กทม. ทราบปัญหาดังกล่าวและกำลังประมวลเรื่องเสนอปรับปรุงข้อบัญญัติ กทม. ในส่วนของการใช้เสาเข็มประเภทใด ตามระยะใด เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ สรุปก็คือ ประกาศฉบับนี้ไม่สามมารถใช้ได้แล้ว
แนวทางแก้ไขปัญหา
จากประสบการณ์ของผู้เขียน ขอแนะนำเพื่อนๆที่จะสร้างบ้านนะครับ ควรศึกษาเรื่องเสาเข็มก่อนที่จะสร้างบ้านนะครับ แต่จะให้ฟันธงง่ายๆถ้าบ้านที่จะปลูกสร้าง ห่างจากบ้านใกล้เคียงน้อยกว่า 10 เมตร ควรจะใช้เข็มเจาะดีที่สุดนะครับ ขนาดผู้เขียนเองใช้เข็มเจาะยังมีปัญหาเลยนะครับเวลาเริ่มงาน มาเข้าเรื่องดีกว่า ว่าจะแก้ได้อย่างไรบ้าง
ทำบันทึกข้อตกลงกับบ้านข้างเคียง
ก่อนจะทำการก่อสร้าง ท่านเจ้าของบ้านควรไปทำความเข้าใจกับบ้านข้างเคียงก่อนนะครับ ไปกับผู้รับเหมาเลยยิ่งดี ให้ผู้รับเหมาถ่ายรูปก่อนทำและทำเอกสารลงนามบันทึกข้อตกลงไว้หากเกิดความเสียกายกับตัวบ้านจะยินดีรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขี้น
เปลี่ยนเสาเข็ม
ถ้ายังไม่เริ่มดำเนินการควรเปลี่ยนเสาเเข็มเป็นแบบเจาะดีกว่านะครับ เพื่อลดความเสี่ยงความเสียหายกับบบ้านใกล้เคียง
สรุป ผู้เขียนขอแนะนำว่าก่อนเพื่อนๆจะดำเนินการปลูกสร้างบ้านนั่น ควรจะพูดคุยบอกกับเพื่อนบ้านก่อนจะดำเนินการใดๆทั้งสิ้น ก่อนที่จะมีปัญหาไม่ว่าจะเป็นเข็มตอกหรือเข็มเจาะ นะครับ