จะใช้แผ่นเมทัลชีทที่มีฉนวนแบบไหนมุงหลังคาบ้านดี ราคาเท่าไร
แผ่นเมทัลชีท นอกจากจะดูความหนาของชั้นเคลือบอลูซิงค์และสี ของแผ่นเมทัลชีทแล้ว ก็จะต้องดูองค์ประกอบที่สำคัญอีกอันหนึ่งก็คือ การบุฉนวนกันความร้อนของแผ่นเมทัลชีท ซึ่งในท้องตลาด ก็จะมี โฟม PU และ PE ซึ่งก็จะมีความสามารถในการป้องกันความร้อนในหลายๆรูปแบบ อีกครั้งสามารถกันเสียงฝนตกได้ในระดับหนึ่ง
เมทัลชีทที่มุมบ้านพักอาศัยหรือสำนักงานจำเป็นไหมที่จะต้องมีฉนวนกันความร้อนใต้แผ่น
เรื่องของอุณหภูมิภายในบ้าน เป็นเรื่องสำคัญ มาอันดับต้นต้น การที่ความร้อนจากภายนอกจะแผ่เข้าตัวบ้านโดยตรง ผู้เขียนคิดว่า 80% มาจากหลังคาบ้าน ซึ่งฉนวนกันความร้อนก็จะมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก.
ฉนวนกันความร้อน ที่สามารถใช้กับแผ่นเมทัลชีทมีอะไรบ้าง
แผ่นเมทัลชีทแผ่นฉนวนกันความร้อน PE
แผ่นฉนวนกันความร้อนพีอี PE ทำมาจากโพลีเอทิลีน(Poly Ethylene) เป็นโพลิเมอร์ มีน้ำหนัก เบาเหนียวแน่นทนต่อแรงกระแทกได้ดีแผ่นฉนวนกัน PE ทนทานต่อการกัดกร่อนต้านทาน สารที่เป็นกรด แอลกอฮอล์ จึงเหมาะสมกับการใช้ในโรงงานเคมี ที่มีไอระเหย ของกรด (Acid Vapour) แผ่นฉนวน PE จึงช่วยปกป้องแผ่นเมทัลชีทจากอันตรายจากการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัย มีคุณสมบัติการนำความร้อนต่ำถึง 0.030 W/m.k. และด้วยโครงสร้างของวัสดุเป็นแบบเซลปิด(Closed Cell) มีฟองอากาศขนาดเล็กกระจายเรียงตัวอย่างสม่ำเสมอ ทำให้โฟมไม่ดูดซับความชื้น และมีส่วนผสมของสารป้องกันการลุกลามของไฟ เมื่อเกิดการเผาไหม้จะมีปริมาณควันน้อยและไม่เป็นพิษเมื่อมีการสูดดม
แผ่นเมทัลชีทติดแผ่นฉนวนกันความร้อน PU
มี 2 แบบคือ
1. แบบพ่นติดกับหลังคา
2. แบบพ่นติดมากับแผ่นสำเร็จรูป
PU FOAM เป็น VERSATILE CELLULAR PLASTIC จึงมีความคงทนแข็งแรงน้ำหนักเบาไม่เสื่อมสภาพตลอดอายุการใช้งาน ไม่หลุดร่อน ไม่มีรอยต่อ ติดกันเป็นเนื้อเดียวกันตลอดสามารถกำหนดความหนาได้ตามต้องการ สามารถลดการแผ่รังสีและการนำความร้อนได้มากกว่า 90% ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน ที่ต่ำที่สุดจากสูญญากาศคงสภาพความเป็นฉนวนที่อุณหภูมิใช้งานสูงถึง 100 องศาเซลเซียล และต่ำสุดถึง -118 องศาเซลเซียลมีโครงสร้างของเนื้อโฟมแบบ SEMI -CLOSED CELLS จึงสามารถดูดซับเสียง ป้องกันเสียงรบกวน เสียงก้องหรือเสียงซึ่งอาจทะลุผ่านมาจากภายในสู่ภายนอกหรือจากภายนอกสู่ภายในได้เป็นอย่างดีทนต่อกรดและด่าง ไม่ลามไฟเนื่องจากผสมสารกันไฟ มีน้ำหนักเบา ทนทาน สามารถ รับแรงกดได้มากกว่า 1.4 KPa
คุณสมบัติของฉนวนแต่ละตัวเป็นอย่างไรบ้างมาดูกัน
คุณสมบัติ | PU FOAM | PE FOAM | ใยแก้ว | เยื่อกระดาษ |
โครงสร้างเซลล์ | เซล์กึ่งปิด-เปิด | เซลล์ปิด | เซลล์เปิด | เซลล์ปิด |
ความหนาแน่น | 15-40 Kg/m3 | 33-45 Kg/m3 | 16-32 Kg/m3 | 38-40 Kg/m3 |
ค่าการนำความร้อน | 0.020-0.025 W/n.k | 0.030-0.037 W/n.k | 0.035-0.038 W/n.k | 0.039-0.045 W/n.k |
อุณหภูมิการใช้งาน | -118°c ถึง 100°c | -80°c ถึง 80°c | -20°c ถึง 200°c | -75°c ถึง 250°c |
ความต้านทานต่อสารเคมี | ทนกรด-ด่าง | ทนกรด-ด่าง | ทนกรด-ด่าง | ทนกรด-ด่าง |
การกลั่นตัวของไอน้ำ รอบวัสดุที่หุ้ม |
ไม่เกิดไอน้ำ เนื่องจากฉีดติดวัสดุที่หุ้ม | เกิดไอน้ำ เนื่องจากมีช่องว่าง ระหว่างฉนวนกับแผ่นหลังคา | เกิดไอน้ำ เนื่องจากมีช่องว่าง ระหว่างฉนวนกับแผ่นหลังคา | เกิดไอน้ำ เนื่องจากมีช่องว่าง ระหว่างฉนวนกับแผ่นหลังคา |
การติดไฟ | ติดไฟ แต่สามารถดับเองได้ เนื่องจากผสมสารกันไฟ | ติดไฟ แต่สามารถดับเองได้ | ตัวประสานติดไฟได้ | ติดไฟ |
การป้องกันเสียง | ดูดซับเสียงดีมาก สะท้อนเสียงได้ดี |
ดูดซับเสียงดีมาก สะท้อนเสียงไม่ดี |
ดูดซับเสียงดีมาก สะท้อนเสียงไม่ดี |
ดูดซับเสียงดีมาก สะท้อนเสียงไม่ดี |
การขนส่งและเก็บรักษา | เป็นชิ้นเดียวกับแผ่นหลังคา ทำให้ง่ายต่อการขนส่ง และเก็บรักษา |
ฉนวนกับแผ่นหลังคาแยกกัน สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการขนส่ง และเก็บรักษา | ฉนวนกับแผ่นหลังคาแยกกัน สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการขนส่ง และเก็บรักษา | ฉนวนกับแผ่นหลังคาแยกกัน สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการขนส่ง และเก็บรักษา |
การประกอบและติดตั้ง | ฉีดติดกับ Metal Sheet ติดตั้งเสร็จในขั้นตอนเดียว | ติดตั้ง 2 ขั้นตอน | ติดตั้ง 2 ขั้นตอน | ติดตั้ง 2 ขั้นตอน |
ความแข็งแรง | เนื้อโฟมแข็ง สามารถรับแรงกดได้ถึง 2000 km/m2 |
อ่อนนุ่ม ต้องหลีกเลี่ยง ในงานที่มีลักษณะกดทับ |
อ่อนนุ่ม ยุบตัวง่าย | อ่อนนุ่ม ยุบตัวง่าย |
ความสามารถ ในการป้องกันสนิม |
ดีมาก เนื่องจากผิวของ PU FOAM ช่วยป้องกันไม่ให้แผ่นหลังคา สัมผัสอากา และความชื้น |
ไม่สามารถป้องกันสนิมได้ | ไม่สามารถป้องกันสนิมได | ไม่สามารถป้องกันสนิมได |
ความสามารถ ในการป้องกันการซึม |
ดีมาก เนื่องจาก PU FOAM แทรกตัวตามช่องว่าง ที่เป็นสาเหตุของการซึม | ไม่มีคุณสมบัติ การป้องกันการรั่วซึม |
ไม่มีคุณสมบัติ การป้องกันการรั่วซึม |
ไม่มีคุณสมบัติ การป้องกันการรั่วซึม |
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.njspro.com/
ราคาแผ่นเมทัลชีทพร้อมฉนวนแต่ละชนิดราคาเท่าไรบ้าง
แผ่นเมทัลชีทติดแผ่นฉนวนกันความร้อน PE
เมทัลชีทรีดฉนวน PE Foam(หนา 5 มม.รีดติดใต้แผ่นด้วยกาวยาง) ราคาตกประมาณ 180-250 บาท/ตร.ม.
แผ่นเมทัลชีทติดแผ่นฉนวนกันความร้อน PU
ค่าจ้างฉีดฉนวน PU Foam (นึกถึงฟองน้ำแต่แข็งตัวไม่อ่อนนุ่ม)ความหนาที่ 2 นิ้วติดใต้แผ่นกระเบื้องหลังคา(ตั้งนั่งร้านพ่นจากข้างใต้ทับทั้งตัวแผ่นกระเบื้อง แป จันทันบางส่วน) ค่าใช้จ่ายรวม(ค่าน้ำยา แรง นั่งร้าน)อยู่ที่ประมาณ 350-600 บาท/ตร.ม. ขึ้นกับปริมาณพื้นที่มากน้อย และความยากง่ายของงานPu
ข้อดีและข้อเสียของ ฉนวนที่ใช้กับหลังคาเมทัลชีทแต่ละชนิด
ในแง่การกันความร้อน ฉนวนPU Foamหนาสองนิ้วสามารถป้องกันความร้อนที่จะทะลุหลังคาได้ดีกว่า PE Foam(หนา 5 ม.ม.) แน่นอน แต่ PU มีจุดอ่อนที่ถ้าใต้หลังคาไม่มืดสนิท โดนแสงสว่างนานๆผิวPUจะกรอบหลุดเป็นผงได้เช่นกัน ส่วนฉนวนPE Foam ถ้ากาวยางหมดสภาพกรอบร่อนก็มีสิทธิหลุดล่อนลงมาได้เช่นกัน
ความคิดเห็นผู้เขียน
ผู้เขียนคิดว่า ฉนวน PU ดีกว่า PE แต่ในแง่ราคา PE ถูกกว่ามาก ก็ขึ้นอยู่กับเพื่อนๆจะมีงบประมาณเช่นไรบ้าง