HOME TIP – ระบบกำจัดปลวกวิธีต่างๆ

ระบบเดินท่อ

ระบบวางท่ออัดน้ำยาใต้พื้นป้องกันและกำจัดปลวกอาคารระหว่างก่อสร้าง

(Sprinkler Chemical Pipe Treatment)

     ระบบวางท่ออัดน้ำยาเข้าไปใต้พื้นอาคารระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งมักเรียกสั้นๆ ว่าระบบวางท่อ (Pipe Treatment) เป็นระบบป้องกันปลวกถาวรสมบูรณ์แบบ ที่จะสามารถคุ้มครองป้องกันอาคารจากการรุกล้ำทำลายของปลวกได้ตลอดชั่วอายุบ้าน ข้อดีของระบบวางท่อเมื่อเปรียบเทียบกับระบบฉีดพ่นและอัดน้ำยาลงดินธรรมดามี 3 ข้อใหญ่ ๆ คือ

1. สามารถอัดน้ำยาเข้าไปใต้พื้นอาคารผ่านหัวฉีดที่เตรียมไว้โดยรอบอาคารได้เมื่อพ้นระยะเวลารับประกันแล้ว โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเจาะพื้นเพื่ออัดน้ำยา ซึ่งนอกจากจะประหยัดได้ในอนาคตแล้ว ยังไม่ต้องเสียเวลาเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือนหรือเครื่องใช้อื่นๆ อันอาจทให้เกิดการชำรุดเสียหายอีกด้วย

2. ไม่ทำให้พื้นอาคารซึ่งใช้วัสดุอย่างดี เช่น หินอ่อน หินกาบ เซรามิค หรือปาร์เก้ เกิดความเสียหายหรือมีจุดตำหนิอันเนื่องมาจากการเจาะพื้นเพื่ออัดน้ำยา

3. ไม่ต้องนำน้ำยาปริมาณมากๆ ผ่านเข้าไปในตัวอาคาร อันอาจสร้างกลิ่นรบกวนและเกิดอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยหรือสัตว์เลี้ยงได้

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1. งานวางท่อ

     เจ้าหน้าที่จะเริ่มดำเนินงาน หลังจากที่ทางฝ่ายก่อสร้างได้ทำการเทคานคอดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยจะทำการวางท่ออัดน้ำยาขนานติดกับแนวคานด้านในรอบตัวอาคาร และจะมีท่อขอบวางขนานแนวคานส่วนกลาง เพื่อส่งไปเคลือบพื้นที่สำคัญๆ ภายใต้พื้นอาคารส่วนที่จะกลายเป็นห้องเก็บของ ห้องน้ำ หรือห้องใต้บันได ซึ่งมักพบปลวกขึ้นมากที่สุด

2. งานอัดและฉีดพ่นน้ำยาบริเวณภายใน

     อาคารยกพิ้นหรือคานต่างระดับ (Slabs on Beam) ในวันเดียวกับที่ทำการวางท่อหลังจากเสร็จสิ้นงานวางท่อแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการอัดน้ำยาลงดินบริเวณของตัวอาคารและรอบๆ ตอม่อโดยใช้หัวอัดแรงสูง อัดน้ำยาลงใต้ดินในระดับลึกประมาณ 1 – 1.5 ฟุต ห่างจากฐานอาคารหรือตอม่อประมาณ 20 ซ.ม. และทิ้งระยะห่างต่อจุดประมาณ 1 เมตรตามแนวยาว โดยใช้น้ำยาผสมเสร็จในปริมาณ 5 ลิตร ต่อ 1 จุด

     หลังจากนั้น จะทำการฉีดพ่นน้ำยาเคลือบผิวหน้าดิน โดยใช้หัวฉีดพื้นผิว ฉีดพ่นแบบครอบคลุมทุกตารางนิ้ว โดยใช้น้ำยาผสมเสร็จในปริมาณเฉลี่ย 15 ลิตร ต่อทุก 7 ตารางเมตร


ระบบอัดน้ำยา

ระบบฉีดพ่นและอัดน้ำยาป้องกันปลวก อาคารระหว่างปลูกสร้าง

(Pre – Construction Soil Treatment)

     การป้องกันปลวกในอาคารซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง เป็นวิธีป้องกันปลวกใต้ดินที่มีประสิทธิภาพและได้ผลดีที่สุด เพราะการอัดและฉีดพ่นนำยาป้องกันปลวกที่มีฤทธิ์ตกค้างยาวนานลงดินจพสามารถกระทำได้อย่างทั่วถึงทุกจุด ทั้งบริเวณภายในและภายนอกรอบ ๆ ตัวอาคาร

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1. เจ้าหน้าที่จะเริ่มดำเนินการก่อวนการเทพื้น หลังจากที่ได้มีการปรับพื้น และเก็บเศษไม้ หมุดไม้ ตอไม้ และเศษขยะต่างๆ ออกหมดเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะอัดน้ำยาลงดินตามแนวคานคอดินด้านในทั้งหมดโดยใช้หัวอัดแรงสูง อัดนำยาลงในดินระดับลึกประมาณ 1 – 1.5 ฟุต ห่างจากแนวคานประมาณ 20 ซ.ม. และทิ้งระยะห่างต่อจุดประมาณ 1 เมตรตามแนวยาว โดยใช้นำยาที่ผสมเสร็จแล้วปริมาณ 5 ลิตร ต่อ 1 จุด

การทำบริการจะเน้นเป็นพิเศษในบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม และในบริเวณที่จะเป็นห้องเก็บของ และปล่องหุ้มท่อ (หรือช่องชาร์ฟ) ซึ่งมักพบปลวกขึ้นมากพอๆ กับบริเวณที่มีความชื้น

2. ฉีดพ่นน้ำยาเคลือบผิวหน้าดินบริเวณอาคารท้งหมดแบบปูพรม ครอบคลุมทุกตารางนิ้วโดยใช้หัวฉีดพื้นผิว เพื่อใหน้ำยาซึมลงไปประสานกับน้ำยาที่อัดไว้ในชั้นใต้ดิน โดยใช้น้ำยาผสมเสร็จในปริมาณ 15 ลิตรต่อทุกๆ 7 ตารางเมตร

3. ฉีดพ่นน้ำยาเคลือบผิวหน้าดิน บริเวณภายนอกรอบๆ ตัวอาคาร แบบปูพรมครอบคลุมทุกตารางนิ้ว ตลอดแนวขอบ 1 เมตร หลังจากที่ได้มีการปรับพื้นที่แล้ว โดยใช้น้ำยาผสมเสร็จในปริมาณ  15 ลิตร ต่อ 7 ตารางเมตร

 

ระบบ Exterra System กำจัดปลวก
นี่คือขั้นตอนง่ายๆ 

1. เอ็กซ์เทอร์ร่า เริ่มต้นจากใต้ดิน ขั้นตอนแรกในการติดตั้งเอ็กซ์เทอร์ร่า (Exterra) คือการฝังสถานีเอ็กซ์เทอร์ร่าลงในดินในจุดต่างๆ ที่คาดว่าปลวกจะเดินผ่านในการออกหาอาหาร ภายในสถานีเอ็กซ์เทอร์ร่าบรรจุไม้ที่เรียกว่า “Timber” ซึ่งเป็นอาหารที่ปลวกชอบและไม่มีสารพิษเจือปน

กำจัดปลวก

2. สามารใช้เอ็กซ์เทอร์ร่าภายในตัวบ้านได้ กรณีบ้านของคุณถูกรุกรานจากปลวก สถานีเอ็กซ์เทอร์ร่าแบบบนดิน สามารถกำจัดปลวกได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยการติดตั้งจุดบรรจุเหยื่อกำจัดปลวกที่มีชื่อทางการค้าว่า “Requiem” ภายในสถานีเอ็กซ์เทอร์ร่า คุณจะรู้สึกปลอดภัยจากเหยื่อกำจัดปลวก Requiem ได้ เพราะสถานีเอ็กซ์เทอร์ร่าจะมีฝาปิดล็อคสนิทเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กหรือสัตว์เลี้ยงแตะต้อง หรือสัมผัสตัวเหยื่อกำจัดปลวกได้ เอ็กซ์เทอร์ร่าระบบปฏิบัติการที่สามารถยับยั้ง และป้องกันความเสียหายที่ได้ผลอย่างรวดเร็ว ในการกำจัดปลวกแบบตายทั้งรัง หลังจากที่รังปลวกได้ถูกกำจัดไปแล้ว เจ้าหน้าที่จะเคลื่อนย้ายสถานีเอ็กซ์เทอร์ร่าแบบบนดินออก

กำจัดปลวก

3. เมื่อปลวกติดกับดัก เนื่องจากปลวกจะไหวตัวเร็วมาก เมื่อมันคิดว่ากำลังถูกรบกวนหรือบุกรุก สถานีเอ็กซ์เทอร์ร่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการกำจัดปลวก และป้องการการเข้ามาของปลวกรังใหม่ โดยการออกแบบให้สามารถตรวจดูปลวกได้อย่างง่าย และไม่รบกวนปลวกแต่อย่างใด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก

กำจัดปลวก

4.ถึงเวลาของ Requiem ในการกำจัดปลวก เหยื่อกำจัดปลวก “Requiem” จะถูกบรรจุไว้ภายในสถานีเอ็กซ์เทอร์ร่า หลังจากพบว่า มีปลวก การบรรจุ Requiem ภายในสถานีเอ็กซ์เทอร์ร่าจะต้องไม่ทำให้ปลวกทั้งหลายรู้สึกว่ากำลังโดนรบกวน หลังจากที่ปลวกเริ่มกิน Requiem และนำ Requiem นี้ กลับไปเป็นอาหารให้ปลวกตัวอื่นๆ ในรัง ซึ่งเป็นการกำจัดปลวกได้ทั้งรังอย่างรวดเร็ว ปลวกจะเลิกกิน Timber และหันมากินแต่ Requiem แทน เนื่องจากรสชาติของมัน เป็นสิ่งที่ปลวกทั้งหลายชื่นชอบมาก และนั่นก็เป็นสิ่งที่เราได้ทดสอบจากห้องปฏิบัติการประเทศออสเตรเลีย และพบว่า ปลวกชอบ Requiem มากกว่า Timber จริง สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับ Requiem คือไม่เป็นพิษกับคุณ และสัตว์เลี้ยงในบ้านเลยแม้แต่น้อย

กำจัดปลวก

5. เมื่อปลวกหยุดกิน Requiem ไม่ได้ ปลวกทั้งรังก็เสร็จเรา นอกจากปลวกจะกิน Requiem ในสถานีเอ็กซ์เทอร์ร่าแล้ว พวกมันยังนำเอา Requiem กลับไปแบ่งกันที่รังของมันอีกด้วย Requiem จะถูกเก็บรวมกับแหล่งอาหารหลักของปลวกและจะถูกกินอย่างช้าๆ เนื่องจาก Requiem จะกำจัดปลวกอย่างช้าๆ ปลวกทั้งหลายที่เริ่มกิน Requiem ก่อน ก็จะทยอยกันตาย ไป ทำให้ปลวกที่เหลืออยู่ไม่รู้เลยว่า อาหารที่พวกมันทุกตัวกำลังกินอยู่นั้น คือต้นเหตุของการล้มตายครั้งนี้ และอีกไม่นานปลวกทั้งรังก็จะพากันล้มตายจนหมดทั้งรัง

กำจัดปลวก

6. สุดท้ายปลวกทั้งรังก็ถูกกำจัด เมื่อปลวกทั้งรังถูกกำจัด Requiem ในสถานีเอ็กซ์เทอร์ร่าจะถูกแทนที่ด้วยไม้เหยื่อ Timber อีกครั้ง สำหรับกรณีที่ใช้สถานีเอ็กซ์เทอร์ร่าแบบบนดิน เจ้าหน้าที่จะเคลื่อนย้ายสถานีเหล่านั้นออก โดยยังมีการติดตั้งสถานีเอ็กซ์เทอร์ร่าแบบใต้ดินตามจุดต่างๆ รอบตัวบ้านต่อไป เพื่อตรวจสอบปลวกรังใหม่ ที่อาจเข้าทำลายบ้านคุณอีกครั้งในอนาคต โดยไม่ต้องรอจะกระทั่งความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว สามารถตอบสนองการบุกรุกของปลวกแต่เนิ่นๆ เพราะฉะนั้น เพียงบ้านคุณมีเอ็กซ์เทอร์ร่า ก็เหมือนมีผู้คุ้มครองที่จะช่วยปกป้องบ้านคุณจากปลวก

กำจัดปลวก

 

 

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เทคนิคน่ารู้เกี่ยวกับกระเบื้องมุงหลังคาและการมุงหลังคา
เลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นอย่างไรให้ถูกวิธีและประหยัด
ตรวจสอบระบบไฟฟ้า บ้านมือสอง
กระเบื้องหลังคา เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสีย ราคา กระเบื้องหลังคาตราช้างตราเพชร และอื่น (part2)
House Style : สะท้อนสไตล์บ้าน ให้ตรงสไตล์คุณ
ระบบหลังคาตราช้าง ขั้นสุดแห่งนวัตกรรมหลังคาทั้งระบบ
ข้อดีข้อเสียของ บ้านโครงการ กับ บ้านสร้างเองบนที่ดิน
มาเช็คสุขภาพหลังคาก่อนหน้าฝนกันดีกว่า
กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย : Triple Tone ความสงบที่เข้าถึงทุกอารมณ์ของธรรมชาติ
นวัตกรรมหลังคาสวยแกร่งครบจบในหนึ่งเดียว กับระบบหลังคาตราช้าง
วิธีตกแต่งบ้านตามหลักฮวงจุ้ย
กระเบื้องลอนคู่กับแผ่นเมทัลชีท ใช้อะไรดี !!!
ข้อแตกต่างวัสดุปูพื้นภานในบ้าน พื้นไม้ปาร์เก้ พื้นลามิเนต พื้นไวนิล พื้นกระเบื้องยาง พื้นกระเบื้อง
วิธีหาท่อประปารั่วง่ายๆ
ถมที่ : เปรียบเที่ยบ ข้องดีข้อเสีย ของการถมที่ดินกับการไม่ถมที่ดินสำหรับการสร้างบ้าน และอาคาร
การเปรียบเทียบการใช้อิฐมอญ-อิฐมวลเบา ว่าใครจะดีกว่ากัน
ชนิดของท่อประปาและการดูแลท่อประปา
เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียและราคา ไม้สำเร็จรูปเฌอร่า ไม้สำเร็จรูปคอนวูด และไม้สำเร็จรูปตรงช้างสมาร์ทวู...
อยากมีบ้านมาลองออกแบบบ้าน online กับ AMIKASA
คบเด็กสร้างบ้าน : ตอน ทำไงดีปั๊มน้ำที่บ้านทำงานทุกๆ 1 นาที !!!
กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย : กิจกรรมดีดีที่จะเผยสไตล์จากสีสันที่เป็นคุณ
เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียและราคา กระเบื้องมุงหลังคาตราช้างตราเพชรตราห้าห่วง และอื่นๆ (part1)
เลือกโคมไฟหน้าฝน...อย่าลืมดูค่า IP (มาตรฐานการป้องกันฝุ่นและความชื้น )
23 เคล็ดลับวิธีการเลือกซื้อ LCD TV และ LCD Monitor
ต่อเติมบ้าน ตกแต่งบ้าน รีโนเวทบ้าน ต้องทำอย่างไรบ้าง
กระเบื้องหลังคาตราช้าง CPAC Monier : สีสันที่สะท้อนสไตล์ความเป็นคุณ
อิฐมวลเบา : ข้อดีข้อเสียของวิธีการผลิตอิฐมวลเบา แบบ AAC และ CLC
ซื้อบ้านอย่างไรให้ผ่อนสบายกระเป๋า
100 วิธีดีๆ ในการดูแลบ้าน ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย
ระบบหลังคาตราช้าง สร้างความสุขให้บ้านคุณอย่างไร
กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องปูผนัง กระเบื้องตกแต่ง เลือกอย่างไร
HOME TIP : เชื่อหรือไม่ก่อนสร้างบ้านคุณควรจะเลือกโถส้วมก่อน
การแก้ไขปัญหาอาคารทรุดตัวของอาคารเนื่องจากเสาเข็ม
10 คำแนะนำสำหรับ การหนีเพลิงไหม้อาคารสูง
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของโครงหลังคากันสาดที่ทำจาก เหล็ก สแตนเลส ไม้จริงและไม้เทียม
ก่อนคิดจะทำผนังเบาจะต้องรู้อะไรบ้าง
เปรียบเที่ยบข้อดีและข้อเสีย ของประตูหน้าต่างอลูมิเนียม กับ ประตูหน้าต่าง UPVC
การใช้เสาเข็มชนิดตอกควรจะตอกห่างจะบ้านข้างเคียงเท่าไรดี
เกร็ดความรู้เรื่องการทาสีบ้าน
สีทาบ้าน : มาทำความรู้จักกับสีทาบ้านกันดีกว่า
อิฐมวลเบา : ข้อดีและข้อเสีย ของอิฐมวลเบาสีเทาที่ ผลิตแบบ CLC
ข้อแตกต่างระหว่างหลังคาโพลีคาร์บอเนตและหลังคาไวนิล
อยากจะสร้างบ้านใช้เงินเท่าไรดี??
คบเด็กสร้างบ้าน : ระบบตรวจน้ำในคลองหลักในกรุงเทพฯ
5 ข้อควรรู้ ก่อนคิดจะซื้อกระเบื้องหลังคาไทยประยุกต์
ก่อนจะต่อเติมบ้านในโครงการจะต้องรู้อะไรบ้าง
HOME TIP : การดูแลรักษาพื้นไม้ลามิเนต
เรื่องสำคัญที่ควรรู้ ในการตรวจรับ บ้านและคอนโด
กระเบื้องหลังคาตราช้าง รุ่น พรีม่า มีอะไรดี ?
ข้อดีและข้อเสียต่างๆของไม้ปาร์เก้และไม้พื้นลามิเนต

About nucifer

วิศวกรโยธาปฎิบัตการ สำนักการโยธา กทม / วิศวกรบริษัทไอเดียแปลนสตูดิโอ ขายแบบบ้านสำเร็จรูปและสร้างบ้านด้วยใจ // รักบอลไทย และ เทคโนโลยี่ // สอบถามเรื่องบ้านได้ครับ