Home Tip : การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด

สายไฟฟ้า

  • สายไฟฟ้าเก่าหรือหมดอายุใช้งาน สังเกตได้จากฉนวนจะแตกหรือแห้งกรอบบวม
  • ฉนวนสายไฟชำรุด อาจเกิดจากหนูหรือแมลงกัดแทะหรือวางของหนักทับ เดินสายไฟใกล้แหล่งความร้อน ถูกของมีคมบาด
  • จุดต่อสายไฟต้องให้แน่น หน้าสัมผัสให้ดี พันฉนวนให้เรียบร้อยขนาดของสายไฟฟ้า ใช้ขนาดของสายให้เหมาะสมกับปริมาณกระแสที่ไหลในสาย หรือให้เหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในวงจรนั้น
  • สายไฟฟ้าต้องไม่เดินอยู่ใกล้แหล่งความร้อน สารเคมี หรือถูกของหนักทับ เพราะทำให้ฉนวนชำรุดได้ง่าย และเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นได้
  • สายไฟฟ้าต้องไม่พาดบนโครงเหล็ก รั้วเหล็ก ราวเหล็ก หรือส่วนที่เป็นโลหะต้องเดินสายไฟฟ้าโดยใช้พุกประกับ หรือร้อยท่อให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วลงบนโครงโลหะ ซึ่งจะเกิดอันตรายขึ้นได้

เต้ารับ-เต้าเสียบ

  • เต้ารับ เต้าเสียบ ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
  • การต่อสายที่เต้ารับและเต้าเสียบ ต้องให้แน่น และใช้ขนาดสายให้ถูกต้อง
  • เต้าเสียบ เมื่อเสียบใช้งานกับเต้ารับต้องแน่น
  • เต้ารับ ต้องติดตั้งในที่แห้ง ไม่เปียกชื้นหรือมีน้ำท่วม และควรติดให้พ้นมือเด็กเล็กที่อาจเล่นถึงได้

แผงสวิตช์

  • ต้องติดตั้งในที่แห้งไม่เปียกชื้นและสูงพอควร ห่างไกลจากสารเคมีและสารไวไฟต่าง ๆ
  • ตรวจสอบดูว่ามี มด แมลงเข้าไปทำรังอยู่หรือไม่ หากพบว่ามี ให้ดำเนินการกำจัด
  • อย่าวางสิ่งกีดขวางบริเวณแผงสวิตช์
  • ควรมีผังวงจรไฟฟ้าโดยสังเขปติดอยู่ที่แผงสวิตช์ เพื่อให้ทราบว่าแต่ละวงจรจ่ายไฟไปที่ใด
  • แผงสวิตช์ที่เป็นตู้โลหะควรทำการต่อสายลงดิน

สวิตช์ตัดตอนชนิดคัดเอาท์

  • ตัวคัทเอาท์และฝาครอบต้องไม่แตก
  • ใส่ฟิวส์ให้ถูกขนาดและมีฝาครอบปิดให้มิดชิด
  • ห้ามใช้วัสดุอื่นใส่แทนฟิวส์
  • ขั้วต่อสายที่คัทเอาท์ต้องแน่นและใช้ขนาดสายให้ถูกต้อง
  • ใบมีดของตัทเอาท์เมื่อสับใช้งานต้องแน่น

เบรกเกอร์

  • ตรวจสอบฝาครอบเบรคเกอร์ต้องไม่แตกร้าว
  • ต้องมีฝาครอบปิดเบรคเกอร์ให้มิดชิด
  • ต้องติดตั้งในที่แห้งไม่เปียกชื้นและห่างไกลจากสารเคมีสารไวไฟต่าง ๆ
  • เลือกเบรคเกอร์ที่มีขนาดเหมาะสมกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

ตู้เย็น-ตู้แช่

  • ให้ตรวจสอบตู้เย็น ตู้แช่ ว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ โดยใช้ไขควงเช็คไฟ หากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้แก้ไขก่อนใช้งานต่อไป
  • ให้นำแผ่นฉนวน เช่น แผ่นยาง แผ่นพลาสติก ปูบริเวณหน้าตู้เย็น ตู้แช่ และแนะนำให้ผู้ที่จะไปเปิดตู้เย็น ตู้แช่ ให้ยืนอยู่บนแผ่นฉนวนดังกล่าวเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าดูด หากเกิดกรณีกระแสไฟฟ้ารั่ว
  • ควรถอดปลั๊กตู้เย็น ตู้แช่ ออก หากท่านไม่ใช้งานเป็นเวลานานหรือท่านไม่อยู่บ้านเป็นเวลานาน
  • โครงโลหะของตู้เย็น ควรทำการต่อสายลงดิน

เครื่องปรับอากาศ

  • ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของเครื่องปรับอากาศ (ซึ่งบุคคลสามารถเข้าไปจับต้องหรือสัมผัสได้) ว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
  • สายไฟฟ้าที่ใช้ต่อเข้าเครื่องปรับอากาศ ต้องใช้ขนาดที่ถูกต้องตามพิกัดการใช้งานของเครื่องปรับอากาศ
  • จุดต่อสายและจุดเข้าปลายสายทุกจุด ต้องทำให้แน่นและปิดฝาครอบหรือพันฉนวนให้เรียบร้อย
  • เครื่องปรับอากาศต้องไม่ติดตั้งใกล้สารหรือวัตถุไวไฟ
  • หากขณะใช้งานเครื่องปรับอากาศมีเสียงดังมากผิดปกติ ควรให้ช่างตรวจสอบและแก้ไข
  • ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศทิ้งไว้ เมื่อท่านออกจากบ้าน

หม้อหุงข้าว

  • ตรวจสอบส่วนที่เป็นโลหะของหม้อหุงข้าว โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้แก้ไขก่อนใช้งานต่อไป
  • ปลั๊กเสียบของหม้อหุงข้าวต้องไม่แตกร้าวและสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปลื่อยชำรุด
  • เมื่อเลิกใช้งานต้องถอดปลั๊กออกทันที
  • การใช้หม้อหุงข้าวให้ใส่หม้อหุงข้าวตัวในพร้อมปิดฝาให้เรียบร้อยแล้วจึงเสียบปลั๊กใช้งาน
  • การจับยกถือหม้อหุงข้าวให้ถอดปลั๊กให้เรียบร้อยก่อน

เครื่องซักผ้า

  • ปลั๊กเสียบของเครื่องซักผ้า ต้องไม่แตกร้าว และสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปื่อยชำรุด
  • ปลั๊กเสียบของเครื่องซักผ้าเมื่อเสียบเข้ากับเต้ารับต้องให้แน่น
  • ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของเครื่องซักผ้า โดยใช้ไขควงเช็ดไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
  • โครงโลหะของเครื่องซักผ้า ควรทำการต่อสายดิน
  • ผู้ใช้เครื่องซักผ้า ร่างกายต้องไม่เปียกชื้นและไม่ยืนอยู่บนพื้นที่เปียกแฉะขณะจับต้องเครื่องซักผ้า
  • เมื่อเลิกใช้งานต้องถอดปลั๊กเสียบออกทันที

พัดลมตั้งพื้น

  • ขณะใช้งานหากพัดลมมีเสียงดังผิดปกติ หรือมีกลิ่นไหม้ หรือหยุดหมุนมีเสียงครางให้หยุดใช้พัดลมทันที และนำไปตรวจซ่อมแก้ไข
  • ในที่ที่มีสารไวไฟไม่ควรใช้พัดลม เพราะอาจเกิดประกายไฟ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้ ในกรณีที่เป็นพัดลมตั้งพื้น ตั้งโต๊ะ
  • ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของพัดลม โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
  • ปลั๊กเสียบของพัดลมต้องไม่แตกร้าว และสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปื่อยชำรุด
  • เมื่อเลิกใช้งานทุกครั้ง ให้ดึงปลั๊กเสียบออก

พัดลมติดเพดาน, ฝาผนัง

  • เมื่อเลิกใช้ทุกครั้งให้ปิดสวิตช์
  • สวิตช์ปิด-เปิดพัดลม ต้องมีฝาครอบไม่แตกร้าว
  • หากสวิตช์พัดลมที่มีฝาครอบเป็นโลหะ ให้ตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ตามที่กล่าวมาแล้ว

เครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า

  • ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
  • โครงโลหะของเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า ควรทำการต่อสายดิน
  • ถ้าเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า มีเสียงดังผิดปกติหรือไม่สามารถปั๊มน้ำขึ้นได้ห้ามใช้งานและดำเนินการตรวจสอบเครื่องปั๊มน้ำทันที
  • ต้องไม่ติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้าใกล้สารไวไฟ
  • เมื่อเลิกใช้งานให้ปิดสวิตช์ หากเป็นแบบปลั๊กเสียบให้ถอดปลั๊กเสียบออกทุกครั้ง

กาต้มน้ำไฟฟ้า

  • ปลั๊กเสียบของกาต้มน้ำไฟฟ้า เมื่อเสียบเข้ากับเต้ารับต้องให้แน่น เนื่องจากกาต้มน้ำไฟฟ้าใช้กระแสไฟฟ้จำนวนมาก
    เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนที่ปลั๊กเสียบสูง
  • สายไฟฟ้าของกาต้มน้ำไฟฟ้า ต้องไม่เสื่อมสภาพ ฉีกขาด แตกร้าว
  • ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของกาต้มน้ำไฟฟ้าโดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
  • กาต้มน้ำไฟฟ้า ควรวางอยู่บนสิ่งที่ไม่ติดไฟ เช่น แผ่นกระเบื้อง แผ่นแก้ว และต้องไม่อยู่ ใกล้สารที่ติดไฟ
  • ขณะใช้งาน ต้องระวังอย่าให้น้ำในกาต้มน้ำไฟฟ้าแห้ง
  • เมื่อเลิกใช้งาน ต้องถอดปลั๊กเสียบออกทันที

เตารีด

  • เต้าเสียบ(ปลั๊กเสียบ) ของเตารีด ต้องไม่แตกร้าวและสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปื่อยชำรุด
  • ตรวจสอบสายไฟที่ต่อที่เตารีดต้องให้แน่น เนื่องจากส่วนที่มีการเคลื่อนไหวอาจโยกคลอนในขณะใช้งาน และให้ตรวจสอบปลอกฉนวนยางที่หุ้มสายเข้าเตารีดอย่าให้เปื่อยและชำรุด
  • ปลั๊กเสียบของเตารีดเมื่อเสียบกับเต้ารับต้องให้แน่นเนื่องจากเตารีดใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมาก
    เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนที่ปลั๊กเสียบสูง
  • เมื่อเลิกใช้งาน ต้องถอดปลั๊กเสียบออกทันที
  • การใช้งานอย่าวางเตารีดใกล้สิ่งที่จะติดไฟได้ง่ายเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ขึ้นได้
  • สายไฟฟ้าของเตารีดห้ามใช้สายอ่อนธรรมดา เนื่องจากตัวเตารีดอาจไปถูกสายไฟฟ้าทำให้ฉนวน พีวีซี. ละลายเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือผู้ใช้อาจถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้ ให้เลือกใช้สายไฟเฉพาะของเตารีด ซึ่งเป็นสายที่มีฉนวน 2 ชั้น และชั้นนอกทนความร้อนได้
  • ขณะใช้เตารีด ผู้ใช้ควรยืนอยู่บนฉนวน เช่น แผ่นยาง หรือแผ่นไม้ตามความสะดวก ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าดูดผู้ใช้ เนื่องจากกระแสไฟฟ้ารั่วที่ตัวเตารีด
  • ตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่

เครื่องดูดฝุ่น

  • เต้าเสียบของเครื่องดูดฝุ่น ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
  • สายไฟฟ้าของเครื่องดูดฝุ่นติดต่อกันเป็นเวลานานมาก(หลายชั่วโมง) เพราะเครื่องจะร้อนมากอาจเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
    และอาจเกิดการลุกไหม้ขึ้นได้
  • หมั่นเทฝุ่นในถุงกรองทิ้ง จะช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เครื่องเป่าผมไฟฟ้า

  • เต้าเสียบของเครื่องเป่าผม ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
  • สายไฟฟ้าของเครื่องเป่าผม ต้องไม่แตกเปื่อยยุ่ย
  • ใช้ไขควงเช็คไฟตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะ หากพบว่าไฟฟ้ารั่วให้แก้ไขก่อนใช้งานต่อไป

เตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า

  • ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโลหะของเตาไฟฟ้าและกะทะไฟฟ้า โดยใช้ไขควงเช็คไฟ หากพบว่ามีไฟฟ้ารั่วก็ให้แก้ไข
  • สายไฟฟ้าของเตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ต้องไม่เสื่อมสภาพ หรือฉีกขาด แตก
  • เต้าเสียบ(ปลั๊กเสียบ) ของเตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
  • เตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ต้องไม่วางอยู่บนพื้นที่ติดไฟและอยู่ใกล้สารไวไฟ
  • เมื่อเลิกใช้งาน ต้องถอดปลั๊กเสียบออกทุกครั้ง
  • ผู้ใช้เตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ควรยืนอยู่บนพื้นฉนวน เช่น แผ่นไม้แห้ง แผ่นยางแห้ง เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าดูดเนื่องจากไฟฟ้ารั่ว
  • ควรระวังอย่าตั้งสิ่งหุงต้มบนเตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ทิ้งไว้นาน เพราะอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้
    โทรทัศน์

โทรทัศน์

  • ไม่ควรตรวจซ่อมโทรทัศน์ด้วยตนเอง หากท่านไม่มีความรู้เพียงพอเนื่องจากมีส่วนของไฟฟ้าแรงสูงอยู่ในโทรทัศน์ด้วย
  • เต้าเสียบ(ปลั๊กเสียบ) ของโทรทัศน์ต้องไม่แตกร้าวและสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปื่อยชำรุด
  • ห้ามเปิดฝาครอบโทรทัศน์ในขณะที่เปิดดูโทรทัศน์อยู่

สูตรและหน่วยทางไฟฟ้า

ความต้านทาน (R)
มีหน่วยเป็น
โอห์ม
กระแสไฟฟ้า (I)
แอมป์แปร์
แรงดันไฟฟ้า (V)
โวลท์
สูตร V = IR, I =V/R,R

 

1
กำลังม้า
เท่ากับ
746
วัตต์
1000
วัตต์
1
กิโลวัตต์
1
ล้านวัตต์
1
เมกกะวัตต์
ไฟฟ้า
1
หน่วย
1000
วัตต์ x เวลา 1 ชม.

 

กำลังไฟฟ้า AC.
เท่ากับ
โวลล์ x แอมป์ x cos
กำลังไฟฟ้า DC.
โวลล์ x แอมป์
cos
ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า 
(power factor) เป็นมุมผลต่างระหว่างแรงดันกับกระแส
สัญลักษณ์โอห์ม
สัญลักษณ์ความต้านทาน

 

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

จะใช้แผ่นเมทัลชีทที่มีฉนวนแบบไหนมุงหลังคาบ้านดี ราคาเท่าไร
ข้อดีและข้อเสียต่างๆของไม้ปาร์เก้และไม้พื้นลามิเนต
เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียและราคา ไม้สำเร็จรูปเฌอร่า ไม้สำเร็จรูปคอนวูด และไม้สำเร็จรูปตรงช้างสมาร์ทวู...
HOME TIP บ้านร้อน ใช้แผ่นสะท้อนความร้อน หรือ ฉนวนกันความร้อนดี
ก่อนต่อเติม อาคาร หรือ บ้าน ปรึกษาวิศวกรสักนิด ชิวิตจะมีความสุข !!
วิธีป้องกันบ้านร้อน
มาเช็คสุขภาพหลังคาก่อนหน้าฝนกันดีกว่า
อิฐมวลเบา : ข้อดีข้อเสียของ อิฐมวลเบา QCON SUPERBLOCK THAICON AIRBLOCK
ข้อแตกต่างวัสดุปูพื้นภานในบ้าน พื้นไม้ปาร์เก้ พื้นลามิเนต พื้นไวนิล พื้นกระเบื้องยาง พื้นกระเบื้อง
วิธีการก่ออิฐมวลเบาที่ถูกต้อง
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียราคาไม้ระแนงสำเร็จรูประหว่าง ไม้สำเร็จรูปเฌอร่า ไม้สำเร็จรูปคอนวูด ไม้สำเร็จร...
การแก้ไขปัญหาอาคารทรุดตัวของอาคารเนื่องจากเสาเข็ม
ถมที่ : เปรียบเที่ยบ ข้องดีข้อเสีย ของการถมที่ดินกับการไม่ถมที่ดินสำหรับการสร้างบ้าน และอาคาร
อิฐมวลเบา : ข้อดีและข้อเสีย ของอิฐมวลเบาสีเทาที่ ผลิตแบบ CLC
วีธีการใช้น้ำอย่างประหยัด(มีประโยชน์มากๆ)
ปราบผู้รับเหมาให้อยู๋หมัด : ถ้าโดนผู้รับเหมาเบิกเงินก่อนทำงานทำอย่างไรดี!!!
การเปรียบเทียบคุณสมบัติและราคาของ วีว่าบอร์ด กับสมาร์ทบอร์ด
ปราบผู้รับเหมาให้อยู่หมัด สำหรับผู้ที่ต้องการต่อเติมบ้านหรือสร้างบ้าน
กระเบื้องลอนคู่กับแผ่นเมทัลชีท ใช้อะไรดี !!!
กระเบื้องเซรามิคแท้ ตราช้าง Excella : ไขความลับ ขั้นสุดความงาม ข้ามกาลเวลา
ข้อแตกต่างระหว่างหลังคาโพลีคาร์บอเนตและหลังคาไวนิล
ระบบหลังคาตราช้าง ขั้นสุดแห่งนวัตกรรมหลังคาทั้งระบบ
HOME TIP : เชื่อหรือไม่ก่อนสร้างบ้านคุณควรจะเลือกโถส้วมก่อน
กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย : Zeason ความงามแห่งฤดูกาล ที่ตอบโจทย์ทุกอารมณ์ความเป็นคุณ
อยากสร้างบ้านสักหลังทำอย่างไรดี ?
กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย : มาลองสัมผัสสองอารมณ์กับกระเบื้องหลังคา Contrazz ส่วนผสมของความต่างทว่...
เลือกโคมไฟหน้าฝน...อย่าลืมดูค่า IP (มาตรฐานการป้องกันฝุ่นและความชื้น )
10 เรื่องควรรู้ก่อนจะคิดจะต่อเติมบ้านหรือสร้างบ้าน
สีทาบ้าน : มาทำความรู้จักกับสีทาบ้านกันดีกว่า
6 สิ่งที่ควรรู้ก่อนสร้างบ้านในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว
คบเด็กสร้างบ้าน : ระบบตรวจน้ำในคลองหลักในกรุงเทพฯ
23 เคล็ดลับวิธีการเลือกซื้อ LCD TV และ LCD Monitor
เสาเข็มที่ใช้สำหรับบ้านที่ต้องการต่อเติม : เสาเข็มเจาะ
อยากต่อเติมกันสาดที่บ้านมาดูว่ากันสาดมีกี่แบบ
MINIMALIST DNA by NEUSTILE
เคล็ดลับบ้านไม่ร้อน เย็นสบาย 365 วัน
100 วิธีดีๆ ในการดูแลบ้าน ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย
HOME TIP : การดูแลสวนสวยๆของเราในฤดูร้อน
ระบบหลังคาตราช้าง สร้างความสุขให้บ้านคุณอย่างไร
เกร็ดความรู้เรื่องการทาสีบ้าน
บันไดบ้านที่ถูกหลักฮวงจุ้ย
ต่อเติมบ้าน ต่อเติมห้องครัว ต่อเติมระเบียง ทำอย่างไรจะไม่ทรุด !!!
อยากจะสร้างบ้านใช้เงินเท่าไรดี??
7 วิธี เพิ่มเสน่ห์ให้บ้านไทยประยุกต์
เสาเข็มที่ใช้สำหรับบ้านที่ต้องการต่อเติม : เสาเข็มไมโครไพล์ ( micro pile )
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของโครงหลังคากันสาดที่ทำจาก เหล็ก สแตนเลส ไม้จริงและไม้เทียม
อยากมีบ้านมาลองออกแบบบ้าน online กับ AMIKASA
ต่อเติมบ้านให้ถูกกฎหมายต้องทำอย่างไร
กระเบื้องหลังคาตราช้าง CPAC Monier : สีสันที่สะท้อนสไตล์ความเป็นคุณ
ก่อนจะต่อเติมบ้านในโครงการจะต้องรู้อะไรบ้าง

About nucifer

วิศวกรโยธาปฎิบัตการ สำนักการโยธา กทม / วิศวกรบริษัทไอเดียแปลนสตูดิโอ ขายแบบบ้านสำเร็จรูปและสร้างบ้านด้วยใจ // รักบอลไทย และ เทคโนโลยี่ // สอบถามเรื่องบ้านได้ครับ