การเปรียบเทียบการใช้อิฐมอญ-อิฐมวลเบา ว่าใครจะดีกว่ากัน

 

 

 

 

เทียบคุณสมบัติ-ราคา-คุณภาพบ้าน

ใช้อิฐมอญ-อิฐมวลเบา

 

คุณภาพบ้านจะดีหรือไม่ดี สามารถประหยัดพลังงานได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับวิธีการก่อสร้าง ความชำนาญงานของช่าง เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติ คุณภาพของบ้าน ที่สร้างด้วยอิฐมวลเบา และอิฐมอญก่อ 2 ชั้น (มีช่องว่างตรงกลาง) แยกเป็นประเด็นได้ดังนี้ (ดูตารางประกอบ)

 

คุณสมบัติทางกายภาพ อิฐมวลเบา หนา 10 เซนติเมตร เมื่อรวมน้ำหนักวัสดุรวมปูนฉาบจะหนัก 120กิโลกรัม ในขณะที่อิฐมอญก่อ 2 ชั้น (เว้นช่องว่างตรงกลาง) จะหนัก 180 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนักของการก่ออิฐมอญจะมากกว่าทำให้ต้องเตรียมโครงสร้างเผื่อกันรับน้ำหนักในส่วนนี้ด้วย ทำให้ต้นทุนโครงสร้างเพิ่มขึ้น

 

การกันความร้อน   หากเป็นกรณีปกติ “อิฐมวลเบา”จะมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำกว่าอิฐมอญประมาณ 8-11 เท่า แต่การก่อผนังภายนอกอิฐจะต้องมีความหนา 10 เซนติเมตร และผนังภายในหนา 7 เซนติเมตร ขึ้นไป จึงจะสามารถกันความร้อนได้ดี แต่ในกรณีใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ตัวช่องว่างตรงกลาง จะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี และอิฐแถวด้านในไม่สัมผัสความร้อนโดยตรง จึงทำให้คุณสมบัติตรงนี้ของอิฐมอญจะมีความสามารถในการกันความร้อนได้ดีกว่า แต่การเว้นช่องว่างไม่ควรต่ำกว่า 5 เซนติเมตร

 

การกันเสียง ปกติอิฐมวลเบาจะกันเสียงได้ดีกว่าอิฐมอญประมาณ 20% แต่ในกรณีใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ช่องว่างตรงกลางจะทำหน้าเป็นฉนวนกันเสียงได้ดีกว่าเกือบ 2 เท่า แต่อิฐมวลเบาจะลดการสะท้อนของเสียงได้ดีกว่า

 

การกันไฟ  อิฐมอญก่อ 2 ชั้นมีฉนวนตรงกลาง (ช่องว่างตรงกลาง) จะกันไฟได้ดีกว่าอิฐมวลเบาเล็กน้อย

 

ความแข็งแรง การใช้งานทั่วไปไม่ต่างกัน แต่ผนังอิฐมอญจะเหมาะสำหรับการใช้วัสดุกรุผนังที่มีน้ำหนักมาก เช่น หินแกรนิต หรือหินอ่อน

 

การก่อสร้าง ความเรียบร้อยของการก่ออิฐมอญจะขึ้นอยู่กับฝีมือในการก่อให้ได้แนวดิ่งของช่างก่อ หากก่อไม่ได้แนวดิ่งและการฉาบความหนาของปูนไม่สม่ำเสมอ อาจจะทำให้ปูนฉาบเกิดการแตกร้าวได้ ใช้เวลาก่อนานกว่าเนื่องจากมีขนาดเล็ก รวมถึงขั้นตอนการเตรียมและจัดเก็บวัสดุซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียวัสดุจากการก่อสร้างไปมากพอสมควร ในขณะที่อิฐมวลเบาการสูญเสียวัสดุจะน้อยกว่า เพราะขั้นตอนการทำงานง่ายกว่า และวัสดุมีขนาดใหญ่แต่ละก้อนได้มาตรฐานเดียวกัน มีน้ำหนักเบาทำให้ก่อสร้างได้รวดเร็วและเรียบร้อยกว่า

 

ราคาวัสดุและค่าแรง เมื่อเทียบราคาวัสดุบวกค่าแรงต่อตารางเมตร อิฐมวลเบาหนา 10 เซนติเมตร ราคาเฉลี่ยประมาณ 360-400 บาท/ตารางเมตร ส่วนอิฐมอญก่อ 2 ชั้น (เว้นช่องว่างตรงกลาง) ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 400-420 บาท/ตารางเมตร 

 

นอกจากนี้การก่ออิฐมอญ 2 ชั้น หากก่อกินพื้นที่ด้านในมาก จะทำให้พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านลดลง แต่ปกติโดยทั่วไปช่างจะก่อเต็มหน้าเสา

 

เปรียบเทียบลักษณะคุณสมบัติอิฐมอญกับคอนกรีตมวลเบา Q-CON

ข้อเปรียบเทียบคุณสมบัติวัสดุ

อิฐมอญ

คอนกรีตมวลเบา  Q-CON

ราคา

โครงสร้างบล็อค

ตัน

กลวง

ก่อผนังเป็นผนังรับแรง

ไม่ได้

ได้

การดูดซึมน้ำ

สูง

ปานกลาง

ความหนาของปูนก่อระหว่างก้อน

1.5 เซนติเมตร

2.3 มิลลิเมตร

ความหนาของปูนที่ฉาบ

20-25 มิลลิเมตร

10 มิลลิเมตร

น้ำหนักวัสดุ (กก./ตร.ม.)

130

45

น้ำหนักผนังรวมฉาบปูน 2 ด้าน  (กก./ตร.ม.)     

180

90

จำนวนใช้งานต่อ 1 ตร.ม. (ก้อน/ตร.ม.)

130 – 145

8.33

ค่ากำลังอัด ( Compressive Strength ) (กก./ตร.ซม.)

15 – 40

30 – 80

ค่าการนำความร้อน ( Thermal Conductivity ) ( วัตต์/ม.เคลวิน )

1.15

0.13

ค่าการถ่ายเทความร้อนรวม OTTV  ( วัตต์/ตร.ม. )

58 – 70

32 – 42

อัตราการกันเสียง ( STC Rating ) ( เดซิเบล )

38

43

อัตราการทนไฟ ( Fire Rating ) (ความหนา  10 เซนติเมตร)

 2

4

ความเร็วในการก่อ  ( ตร.ม./วัน )

6-12

15-25

เปอร์เซ็นต์สูญเสีย / แตกร้าว

10 – 30 %

0 – 3 %

การติดตั้งวงกบประตู-หน้าต่าง

หล่อเสาเอ็นทับหลัง

และต้องมีค้ำยัน

ไม่ต้องเททับหลัง

และไม่ต้องมีค้ำยัน

 

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะใช้วัสดุคอนกรีตมวลเบา หรือ อิฐมอญ จะมีข้อดีและข้อด้อย และต้นทุนที่แตกต่างกันไป เช่น ก่อผนังด้วยอิฐมวลเบาทั้งหมดราคาค่าก่อก่อสร้างจะมีตัวเลขสูงขึ้นกว่าการก่อด้วยอิฐมอญชั้นเดียว แต่เมื่อนำอิฐมอญมาก่อผนัง 2 ชั้นราคาค่าก่อก่อสร้างกลับสูงกว่า เราจะเห็นบางโครงการจะใช้ทั้งคอนกรีตมวลเบา และอิฐมอญ สร้างบ้านหลังเดียว โดยส่วนผนังภายนอกที่ได้รับแสงแดดโดยตรง จะก่อด้วยอิฐมวลเบาหรือก่ออิฐมอญ 2 ชั้น ส่วนผนังภายในอาจจะก่อด้วยอิฐมอญชั้นเดียว หรืออิฐมวลเบาที่ความหนาน้อยกว่า

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เลือกโคมไฟหน้าฝน...อย่าลืมดูค่า IP (มาตรฐานการป้องกันฝุ่นและความชื้น )
23 เคล็ดลับวิธีการเลือกซื้อ LCD TV และ LCD Monitor
วิธีป้องกันบ้านร้อน
แปหลังคา อุปกรณ์สำคัญ ให้โครงสร้างบ้านแข็งแรง
กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย : Zeason ความงามแห่งฤดูกาล ที่ตอบโจทย์ทุกอารมณ์ความเป็นคุณ
โอ้ยอยากมีผนังปูนเปลือยเหมือนบ้าน Modern จัง แล้วทำอย่างไรละ ไปดูกัน
ต่อเติมบ้าน ตกแต่งบ้าน รีโนเวทบ้าน ต้องทำอย่างไรบ้าง
คบเด็กสร้างบ้าน : ระบบตรวจน้ำในคลองหลักในกรุงเทพฯ
ตรวจสอบระบบไฟฟ้า บ้านมือสอง
นวัตกรรมหลังคาสวยแกร่งครบจบในหนึ่งเดียว กับระบบหลังคาตราช้าง
อยากจะสร้างบ้านใช้เงินเท่าไรดี??
MINIMALIST DNA by NEUSTILE
กระเบื้องหลังคา เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสีย ราคา กระเบื้องหลังคาตราช้างตราเพชร และอื่น (part2)
อุปกรณ์หลังคา : เติมฟังก์ชั่นให้บ้าน เพิ่มเสน่ห์ใหม่บนผืนหลังคา
เคล็ดลับบ้านไม่ร้อน เย็นสบาย 365 วัน
การซ่อมแซมฝ้าเพดานสำหรับบ้านเก่าหรือบ้านมือสอง
ประเภทของเครื่องปรับอากาศ ที่ใช้กันมีกี่ประเภท
เปรียบเที่ยบข้อดีและข้อเสีย ของประตูหน้าต่างอลูมิเนียม กับ ประตูหน้าต่าง UPVC
กระเบื้องเซรามิคแท้ ตราช้าง Excella :ความงาม 3 สไตล์ของหลังคาที่ตอบทุกโจทย์ความเป็นคุณ
ตอบปัญหาก่อสร้าง : บ้านของผมมีปัญหาน้ำรั่ว พยามอุดรอยรั่วด้วยวิธีต่างๆแล้วยังไม่หายสนิท ทำอย่างไรดี
หลังคาบ้านทรงไทยประยุกต์ ที่ผู้ใช้ต่างรู้จริง…รักจริง
10 คำแนะนำสำหรับ การหนีเพลิงไหม้อาคารสูง
ชนิดของท่อประปาและการดูแลท่อประปา
ข้อแตกต่างระหว่างหลังคาโพลีคาร์บอเนตและหลังคาไวนิล
เสาเข็มที่ใช้สำหรับบ้านที่ต้องการต่อเติม : เสาเข็มเจาะ
ก่อนคิดจะทำผนังเบาจะต้องรู้อะไรบ้าง
เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียและราคา กระเบื้องมุงหลังคาตราช้างตราเพชรตราห้าห่วง และอื่นๆ (part1)
ข้อแตกต่างระหว่างคอนกรีตสำเร็จรูปกับคอนกรีตผสมมือ
กระเบื้องหลังคาตราช้าง รุ่น พรีม่า มีอะไรดี ?
การแก้ไขปัญหาอาคารทรุดตัวของอาคารเนื่องจากเสาเข็ม
วิธีการก่ออิฐมวลเบาที่ถูกต้อง
ก่อนต่อเติม อาคาร หรือ บ้าน ปรึกษาวิศวกรสักนิด ชิวิตจะมีความสุข !!
เมื่อฝนตก น้ำสามารถรั่วเข้าบ้านโดยทางใดบ้าง และต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง
โปรแกรมช่วยออกแบบหรือตกแต่งภายใน Sweet Home 3D
ข้อดีและข้อเสียต่างๆของไม้ปาร์เก้และไม้พื้นลามิเนต
HOME TIP : เชื่อหรือไม่ก่อนสร้างบ้านคุณควรจะเลือกโถส้วมก่อน
ระบบหลังคาตราช้าง ขั้นสุดแห่งนวัตกรรมหลังคาทั้งระบบ
จะใช้แผ่นเมทัลชีทมุงหลังคาจะใช้แผ่นแบบไหนดี ราคาเท่าไร
เลือกตู้เย็นให้เหมาะกับบ้าน
อิฐมวลเบา : ข้อดีและข้อเสีย ของอิฐมวลเบาสีเทาที่ ผลิตแบบ CLC
รางน้ำ : เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียของ รางน้ำสังกะสี รางน้ำสแตนเลส รางน้ำอลูมิเนียมและรางน้ำไวนิล
วิธีหาท่อประปารั่วง่ายๆ
6 สิ่งที่ควรรู้ก่อนสร้างบ้านในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว
เปรียบเที่ยบข้อดีข้อเสียและราคา ไม้สำเร็จรูปเฌอร่า ไม้สำเร็จรูปคอนวูด และไม้สำเร็จรูปตรงช้างสมาร์ทวู...
กระเบื้องลอนคู่กับแผ่นเมทัลชีท ใช้อะไรดี !!!
กระเบื้องตราช้างซีแพคโมเนีย : มาลองสัมผัสสองอารมณ์กับกระเบื้องหลังคา Contrazz ส่วนผสมของความต่างทว่...
Home Tip : สูตรขัดบ้านหลังน้ำท่วมแบบสะอาดหมดจด
ตัวอย่างการติดตั้งระบบสายดินและเครื่องตัดไฟรั่วของที่พักอาศัย
มาเช็คสุขภาพหลังคาก่อนหน้าฝนกันดีกว่า
ซื้อบ้านอย่างไรให้ผ่อนสบายกระเป๋า

About nucifer

วิศวกรโยธาปฎิบัตการ สำนักการโยธา กทม / วิศวกรบริษัทไอเดียแปลนสตูดิโอ ขายแบบบ้านสำเร็จรูปและสร้างบ้านด้วยใจ // รักบอลไทย และ เทคโนโลยี่ // สอบถามเรื่องบ้านได้ครับ