สวัสดีครับ เพื่อนๆ ที่ผ่านมาผู้เขียนได้ เขียนบทความเกี่ยวกับอิฐมวลเบา ตั้งแต่ขบวนการผลิต และการผลิตอิฐมวลเบาแบบ AAC นะครับ คราวนี้ เราจะมาดูที่ อิฐมวลเบาแบบ CLC บ้างว่า มีอะไรดีบ้าง
อิฐมวลเบา CLC คืออะไร
คือการผลิตอิฐมวลเบาโดยใช้สารเคมี (Circular Lightweight Concrete) เพื่อให้เนื้อคอนกรีตฟู และทิ้งให้แข็งตัว โดยไม่ผ่านขบวนการอบแรงงดันเหมือนระบบ AAC โดยการผลิตอิฐมวลเบา แบบ CLC นี้ ผู้เขียนมองว่าผลิตง่ายมาก ว่ากันง่ายๆๆเลยก็คือ นำปูน ปอร์ตแลน และ ทรายละเอียดมาผสมกันให้ได้ เป็น มอลต้า แล้ว น้ำสารเคมี มาผสม จะทำให้ได้ เนื้ออิฐมวลเบาที่ฟู และนำไปหล่อไส่ บล็อก เมื่อแห้งก็นำมา ตัดให้ขนาดอิฐมวลเบาเหมาะสมแล้วนำไปใช้งานได้เลย โดยที่ ลักษณะอิฐมวลเบา จะเป็นสีเทา ไม่ได้เป็นอิฐมวลเบาสีขาวเหมือนการผลิตอิฐมวลเบาระบบ AAC
แล้ว อิฐมวลเบาที่ผลิตแบบ CLC ดีไหม
ถ้าถามว่าอิฐมวลเบาแบบนี้ดี ไหม เอาจากขอสังเกตุของผู้เขียน คือ เป็นอิฐที่ผลิตได้ไม่ยาก แต่ก็ไม่ได้ง่ายมาก โรงงานขนาดเล็กถึงระดับกลางทำได้อยู่แล้ว ซึ่งส่งผลให้มีผู้ประกอบการที่ผลิต อิฐมวลเบา สีเทา ตัวนี้ มีอยู่หลายเจ้ามาก จริงๆแล้วผู้เขียนมองว่าเป็นธุรกิจ SME ที่น่าจะทำกำไรได้ดีเลยทีเดียวเลยนะครับ เนื่องจากในพื้นที่ห่างไกล อิฐที่ผลิตแบบ AAC จะส่งไปไม่ถึงบ้างมีตัวแทนจำหน่ายน้อยมากนะครับ ถ้าเทียบกับอิฐมวลเบาแบบ CLC หรือ อิฐมวลเบาเทา ตัวนี้
คลิปที่แสดงวิธีผลิตอิฐมวลเบาแบบ CLC
ข้อดี ข้อเสีย ของ อิฐมวลเบาสีเทาตัว
สิ่งที่ผู้เขียนคิดว่าดีมากสำหรับ อิฐมวลเบาสีเทาตัวนี้ นะครับ คือ
1. อิฐมวลเบาสีเทา สามารถ ก่อโดยไม่ต้องใช้ปูนก่อเฉพาะของอิฐมวลเบาแบบ AAC
2.อิฐมวลเบาสีเทา สามารถ ฉาบได้โดยใช้ปูนฉาบธรรมดา โดยไม่ต้องใช้ปูนฉาบเฉพาะของอิฐมวลเบาแบบ AAC
ส่วนที่ยังไม่โดนใจมากเท่าไรคือ ราคา อันนี้ ผมว่าราคาน่าจะพอๆ กับอิฐมวลเบา แบบ AAC นะครับ อีกประเด็นคือ การแตกร้าวของปูนที่ฉาบกับอิฐมวลเบาชนิดนี้ บ้างก็ว่า ใช้อิฐมวลเบาตัวนี้แล้วเวลาฉาบจะแตกง่าย แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียน ถ้าช่างมีฝีมือรู้วิธีการฉาบของอิฐแต่ละชนิดอย่างเข้าใจ และการก่ออิฐได้ระดับได้ระยะ ปูนที่ฉาบก็จะเกิดการแตกร้าวน้อยลงไป