สวัสดีครับช่วงนี้ลมหนาวมาแล้วนะครับรักษาสุขภาพกันด้วยนะครับหลังจากน้ำท่วมแล้วมีลมหนาวมาอีกเพื่อนๆคนไหนถ้าน้ำยังไม่ลดไปหมดก็ขอเป็นกำลังใจให้นะครับอย่าได้ท้อถอยสู้ต่อไปนะครับ ช่วงนี้ใกล้ปี 55 แล้วช่วงนี้คงมีคนคิดที่จะขึ้นบ้านใหม่มากมายการเริ่มต้นสร้างบ้านหลายคนยังคิดไม่ออกนะครับว่าจะต้องเริ่มอย่างไร ต้องตอกเข็มไหม ตอกได้กี่เมตร ถมดินไปแล้วต้องทำฐานรากอย่างไรบ้าง ผมได้ลองรวมคำถามที่ถามบ่อยๆตอนไปเป็นที่ปรึกษาเรื่องบ้านของสมาคมรับสร้างบ้านมาให้นะครับ
ประเภทของฐานราก
- ฐานรากแบบลึก คือ ฐานรากเสาเข็ม จะใช้เมื่อเนื้อดินอ่อนเกินไปจนไม่สามารถรับน้ำหนักโครงสร้างได้ ซึ่งการออกแบบฐานรากประเภทนี้จะใช้เมื่อชั้นดินคุณภาพดีอยู่ระดับความลึกที่ ประมาณ 3-10 เมตร
- ฐานรากแบบตื้น คือ ฐานรากแบบแผ่ จะใช้เมื่อเนื้อดินแน่นแข็งแรงพอจะรับน้ำหนักบรรทุกได้ดี และมีการทรุดตัวไม่มากกว่าข้อกำหนดทางวิศวกรรม จึงไม่จำเป็นต้องใช้เสาเข็มซึ่งการออกแบบฐานรากประเภทนี้จะใช้เมื่อชั้นดิน คุณภาพดีอยู่ระดับ 2-3 เมตร
แล้วบ้านท่านเป็นดินแบบไหนละ??
อันดับแรกนะครับ ถ้าบ้านของท่านอยู่ในกทมละก็ต้องใช้เข็มแน่นอนครับ เพราะดินที่กทมเป็นดินเหนียวอ่อนจะต้องใช้เข็มไปวางบนชั้นทรายแต่จะต้องตอกหรือเจาะเข็มที่ความยาวเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับพื้นที่นะครับ มีตั้งแต่ 18 – 26 ม. ถ้าตอกเข็มจะต้องได้ Blow count หรือถ้าเจาะข็มก็จะถึงชั้นทรายนะครับ ส่วนจังหวัดอื่นท่านสามารถไปขอข้อมูลที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้เลยนะครับว่าจะต้องใช้เข็มหรือฐานรากแผ่ บางที่อาจจะตอกเข็มเพียง 2 – 4 ม. บางที่อาจจะเป็นชั้นหินตอกไม่ลงก็สามารถทำฐานรากแผ่ได้เลย
ดินถมไว้นานแล้วไม่ต้องตอกเข็มหรอกทำคานเลย!!
ถ้ามีผู้รับเหมาบอกกับคุณแบบนี้ก็อย่าให้ทำบ้านคุณเลยนะครับ มันอาจจะทำหลังอื่นๆแล้วไม่มีปัญหาเค้าอาจจะดวงดีนะครับถ้าเจอปัญหาแบบน้ำท่วมที่ผ่านมาบ้านพังแน่นอนไม่ว่าอย่างไรก็ต้องทำฐานรากนะครับ อย่าไปเชื่อผู้รับเหมาสอบถามวิศวกรดีกว่า คนทำมานานก้สู้คนที่เค้าเรียนมาโดยตรงไม่ได้
สรุป
- บ้านที่จะต้องตอกเข็มควรจะเป็นบ้านที่อยุ๋ในบริเวณชั้นดีเหนียวเช่นในกทม และจังหวัดรอบๆ แตกต่างกันที่ความลึกของการตอก
- บ้านที่ไม่ต้องตอกเข็มส่วนใหญ่จะอยู่บนภูเขาเท่านั้น
- บ้านทุกหลังต้องมีฐานรากไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม