การวางผัง
การวางผัง คือการกำหนดตำแหน่งของบ้านที่จะสร้าง บ้านจะอยู่ ซ้าย ขวา หน้า หลัง ของที่ดินที่เราจะสร้าง ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของบ้าน และ ความเหมาะสมของสถานที่เป็นสำคัญ
การวางผังสำหรับบ้าน นิยมทำกัน 2 แบบ คือ การวางผังโดยใช้กล้องทีโอไลท์ กับการวางผังโดยใช้ กฏ 3 : 4 : 5
ผลที่ได้จากการวางผัง คือ หมุดที่ตอกไว้ที่ ที่ดินที่จะปลูกสร้าง ส่วนจะมีคอกไม้หรือไม่ ไม่จำเป็นครับ แต่ต้องมีการขึงเชือกเพื่อให้เจ้าของบ้านได้ทราบตำแหน่งบ้าน และ แนวของบ้านในแต่ละด้าน
ภาพซ้ายมือ คือหมุดที่ดิน ภาพขวา คือส่วนหนึ่งของผังบ้านครับ
การวางผังโดยใช้กล้อง
ภาพซ้ายมือ คือหมุดสำหรับตอกเสาเข็ม ต้องตอกให้จมอย่างนี้ ส่วนภาพขวา เป็นหมุดสำหรับตอกเข็มเช่นกัน แต่ตอกไว้ลอยๆอย่างนี้ไม่ถูกต้องครับ
การตรวจสอบการวางผัง
รายการตรวจสอบ |
ประโยชน์ที่ได้ |
ตรวจสอบหมุดหลักเขตที่ดิน กับ โฉนดที่ดิน ว่ามีครบถ้วนหรือไม่ | ป้องกันปัญหากับบ้านข้างเคียง
เพราะถ้าหากว่าวางผังไปทั้งๆที่หมุดไม่ครบ ช่างอาจจะใช้วิธีวัดระยะเอา ซึ่งมีโอกาสผิดพลาด และ เกิดปัญหาขึ้นได้ |
ตรวจสอบผังก่อสร้าง ตำแหน่ง ทิศทาง แนวฉากเทียบกับ แนวที่จะใช้อ้างอิง (จะให้ตั้งฉากกับแนวถนน ซึ่งเป็นแนวที่ดินด้านหน้า หรือ ตั้งฉากกับแนวที่ดินด้านข้าง) | เพื่อให้บ้านไม่เอียง เพื่อความสวยงามรับกับแนวถนน |
ตรวจสอบส่วนที่ยื่นขององค์ประกอบอาคารตามแบบ กับแนวเขตที่ดิน | เพื่อตรวจสอบว่า ชายคา หรือสิ่งปลูกสร้างของเรา ล้ำออกนอกแนวเขตที่ดินหรือไม่ (บ้านยังไม่ได้สร้าง เจ้าของบ้านจะมองตรงนี้ไม่ออก) |
ตรวจสอบศูนย์เสา ระยะระหว่างเสา ระยะรวมทั้งหมด | เพื่อให้ถูกต้องตรงตามแบบก่อสร้าง |
ตรวจสอบระดับบวก/ลบ 00 ในแบบเทียบกับสถานที่จริง | เพื่อให้ระดับบ้านถูกต้องตามแบบที่สถาปนิกออกไว้ |
ตรวจสอบความมั่นคงของหมุดระดับ | หมุดระดับนี้ จะต้องรักษาไว้ตลอด เพื่อใช้เช็คระดับต่างๆของบ้าน เพราะหากระดับที่ก่อสร้างเพี้ยน จะมีผลถึงระดับต่างๆและความสวยงามของตัวบ้าน |
ตรวจสอบหมุดอ้างอิง ตามแนวแกนเอ็กซ์ และ แกนวาย | เพื่อจะได้เส้นออฟเซ็ท ไว้สำหรับใช้อ้างอิงฉากบ้าน ในขณะที่ทำการก่อสร้าง |
ตรวจสอบว่า หมุดของเสาเข็มแต่ละจุด ตอกไว้แน่นหนา หรือไม่ | เพื่อป้องกันหมุดเคลื่อน ในขณะที่เสาเข็มถูกลากไปตอก |
รายงานการสร้างบ้าน
เพื่อประโยชน์ของเจ้าของบ้านเอง เจ้าของบ้านควรให้ช่าง หรือ คอนเซ้าท์ ทำรายงานการก่อสร้างบ้าน ทั้งส่วนที่เป็นภาพ และลายลักษณ์อักษร มาให้ท่านดูทางอินเทอร์เน็ท ในเว็บไซท์แห่งนี้ |
เจ้าของบ้านจะได้ทราบความคืบหน้าในการสร้างบ้านของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เจ้าของบ้านไม่สามารถไปดูงานสร้างบ้านได้ทุกวัน ด้วยการตรวจสอบรายงานการตรวจงาน ได้จากเว็บไซท์ของเรา |
บันทึกการสร้างบ้าน
เพื่อประโยชน์ของเจ้าของบ้านเอง เจ้าของบ้านควรทำบันทึกการสร้างบ้าน โดยใช้ภาพถ่ายจากรายงานการสร้างบ้าน |
เจ้าของบ้านใช้บันทึกการสร้างบ้าน เป็นตัวกระตุ้นให้ ผู้รับจ้างทำงานให้ดี เพราะบันทึกนี้ บุคคลทั่วไปที่เข้ามาในเว็บไซท์แห่งนี้ สามารถเข้าชมได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ชมนั้นอาจจะกำลังหาผู้รับเหมาอยู่ก็ได้ หากเจ้าของบ้านเขียนบันทึก เกี่ยวกับผู้รับเหมาในทางที่ดี โอกาสที่ผู้รับเหมารายนั้นจะได้งานก็มีมากขึ้น ในทางตรงข้าม หากบันทึกเขียนถึงผู้รับเหมา ในทางที่ไม่ดี เพราะทำงานให้กับเจ้าของบ้านไม่ดี โอกาสในการที่จะได้งานใหม่ ก็จะยากขึ้น |
บน จุดที่จะใช้อ้างอิงแนวแกนเอ็กซ์แกนวายที่ทำไว้ตอนวางผัง
บางครั้งก็ทำเครื่องหมายไว้บนผนังกำแพงข้างบ้าน
เส้นอ้างอิง หรือ เส้นออฟเซทดำๆที่เห็นในภาพ เป็นเส้นที่เกิดจากการวางผัง ใช้ประโยชน์ในการควบคุมให้บ้านได้ฉาก วัดแนวที่จะก่อผนัง ปูกระเบื้อง อย่างภาพขวา ช่างใช้เส้นอ้างอิงมากำหนดแนวที่จะฉาบผนัง
ที่มา- selectcon