เชื้อราหลังน้ำลด จะต้องกำจัดอย่างไรบ้าง

ผมเชื่อว่าหลายๆบ้านขณะนี้น้ำเริ่มลดกันบ้างแล้วนะครับจะมากจะน้อยลดหลั่นกันไปครับ ซึ่งบ้านของเราที่จมน้ำอยู่เนี้ยส่วนใหญ่จะจมไม่ต่ำกว่า 14 วัน เรียกว่าจมนานกันครึ่งเดือนกันเลยทีเดียวนอกจากจะมีคราบตะไคร่คราบดินที่มากับน้ำแล้ว ยังมีอีกอย่างครับที่มากกับน้ำและความชื่น มันคือเชื้อรานั่นเองซึ่งอันตรายมากๆ วันนี้ผมได้เอาแนวทางการกำจัดราแบบสิ้นซากมาฝากกันนะครับ

ขั้นตอนง่ายๆทำลายเชื้อรา 6 ขั้นตอน

 

1. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย

โดยเฉพาะคนที่มีความไวต่อสปอร์เชื้อรา ควรสวมหน้ากากป้องกัน หรือ เครื่องช่วยหายใจที่รับการจัดอันดับ (N – 95 หรือสูงกว่า) หน้ากากป้องกันบางชนิดอาจมีวาล์วเพื่อให้ง่ายต่อการหายใจ ควรสวมถุงมือ รองเท้าบู๊ทยาง หมวกคลุมผม เสื้อคลุม และสวมใส่แว่นป้องกันตา เพื่อป้องกันการสัมผัสทางผิวหนังโดยตรง ในระหว่างการทำความสะอาด
ข้อควรระวังการซื้อหน้ากากป้องกัน ต้องเป็นหน้ากากอนามัยชนิด N-95 เท่านั้น เพราะ หน้ากากฟองน้ำ และ หน้ากากแบบผ้าทั่วไปไม่สามารถป้องกันสปอร์ของเชื้อราได้

2. แยกพื้นที่ทำงานและระบายอากาศ

โคโลนีของเชื้อราในระหว่างการทำความสะอาดสามารถปล่อยสปอร์จำนวนมากไปในอากาศได้ ควรเปิดประตู หน้าต่าง ม่าน ให้อากาศถ่ายเทในห้อง ให้มีแดดส่องถึง และไม่ควรใช้ระบบระบายอากาศภายในบ้าน หรือเปิดแอร์ และพัดลมในระหว่างการทำความสะอาดป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อรา หลีกเลี่ยงการใช้น้ำด้วยระบบแรงดันสูงฉีดในการทำความสะอาด เนื่องจากจะทำให้เชื้อราฟุ้งกระจายได้เช่นกัน

3. เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่พบเชื้อรา

โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจากวัสดุที่มีลักษณะเป็นรูพรุนซึ่งไม่สามารถชำระล้างและทำให้แห้งได้ รวมทั้ง พรม เบาะผ้า ที่นอน ฟูก วอลเปเปอร์ ฝ้าผนัง แผ่นยิปซั่ม ผลิตภัณฑ์ไม้แผ่นฝ้า ไม้เนื้ออ่อน ผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและเครื่องเรือนที่เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นรูพรุน เพื่อลดการแพร่กระจายของสปอร์ราและทำลายแหล่งเพาะเชื้อรา อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆเหล่านี้ ควรทิ้งใส่ในถุงพลาสติกและมัดอย่างดี กันแพร่กระจายของเชื้อราสู่อากาศ

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนหรือจะเก็บเฟอร์นิเจอร์ หรือ อุปกรณ์ไว้นั้น ให้พิจารณาว่าสิ่งของใดก็ตาม ที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้หมดหลังจากทำความสะอาด และไม่มั่นใจที่สามารถทำให้สิ่งของดังกล่าวแห้งได้ ไม่ควรเก็บไว้ อย่าเสียดาย ให้ทิ้งไปให้หมด โดยเฉพาะวัสดุที่มีลักษณะเป็นรูพรุน

4. ทำความสะอาดและการทำลายเชื้อรา

ทำความสะอาดโดยการขัดล้างให้เร็วที่สุดที่สามารถทำได้ ภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง หรือ ภายใน หนึ่ง ถึง สองวัน หลังน้ำท่วมลดลง เครื่องใช้บางประเภทที่ทำมาจากวัสดุที่ไม่มีลักษณะเป็นรูพรุน เช่น เครื่องแก้ว เครื่องกระเบื้อง เมลามีน พลาสติก คอนกรีต กระจก กระเบื้องเซรามิก โลหะ และไม้เนื้อแข็ง (เชื้อราส่วนมากไม่สามารถเจาะไม้เนื้อแข็งได้) ท่านสามารถทำความสะอาดและทำให้แห้งได้โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งของใช้ดังกล่าว ในระหว่างทำความสะอาด อย่าลืมเปิดประตูและหน้าต่างเพื่อระบายอากาศตามวิธีที่กล่าวมาแล้วข้อ 2 และสวมถุงมือยางทุกครั้ง ถ้ามีพื้นที่ด้านนอก ให้ขยับอุปกรณ์ต่างๆหรือเครื่องใช้ ออกมาพึ่งอากาศที่โปร่งโล่ง กลางแจ้ง หรือที่มีแดดส่องถึง ประมาณ สอง ถึงสามวัน ก็ยิ่งดี

***ส่วนการทำลายเชื้อรา เริ่มแรกควรล้างด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อน แล้วตามด้วยการขัดล้างด้วยน้ำยาโซเดียมไฮโปคลอไรด์ (NaOCl) หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าขาว ที่มีส่วนผสมของ โซเดียมไฮโปคลอไรด์ผสมอยู่

(หมายเหตุ:การซื้อผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าขาวมาใช้ ต้องอ่านข้างฉลากและต้องแน่ใจว่าเป็นยี่ห้อที่มี โซเดียมไฮโปคลอไรด์ 5-6%)

ข้อควรระวังการใช้น้ำยาซักผ้าขาว ควรใส่ถุงมือยางทุกครั้งก่อนใช้ และต้องใช้ในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ควรเปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเทในห้องและห้ามสูดดมโดยตรงเป็นอันขาด

และที่สำคัญที่สุด ห้ามผสมน้ำยาซักผ้าขาวที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรด์ผสมอยู่ กับสารอื่นๆเด็ดขาด ยกตัวอย่างเช่นห้ามนำน้ำยาซักผ้กขาวผสมกับแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบเด็ดขาด หรือ ห้ามนำน้ำยาซักผ้าขาวผสมกับน้ำยาหรือผลิตภัณฑ์ล้างอื่นๆที่มีสภาพเป็นกรด เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างโถส้วม เเละน้ำยาเช็ดกระจก เป็นต้น เพราะจะเกิดก๊าซที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

**หมายเหตุ สามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในการกำจัดเชื้อรา ซึ่งมีหลายยี่ห้อในการช่วยฆ่าเชื้อรา แต่ต้องแน่ใจว่า ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่จะนำมาใช้ฆ่าเชื้อรา ต้องมี “โซเดียมไฮโปคลอไรด์ผสมอยู่” ซึ่งสามารถดูข้างฉลากว่ามีสารเคมีดังกล่าว หรือสารเคมีอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่สามารถฆ่าเชื้อราได้ สามารถหาซี้อได้ตามท้องตลาด และ ซุปเปอร์มาเกตทั่วไป

 

ข้อควรระวังสุดท้าย ควรศึกษาคู่มือการใช้ในผลิตสำเร็จรูปอย่างละเอียดโดยให้ปฏิบัติตามป้ายและคำเตือนในการใช้อย่างระมัดระวัง

@ ถ้าเป็นการการขัดผนังปูนหรือพื้นผิวที่หยาบควรขัดด้วยแปรงชนิดแข็ง ถ้าไม่สามารถหาซื้อได้ให้ อาจผสมน้ำยาใช้เองโดยใช้ผงฟอกขาวที่มีใช้อยู่ตามบ้านและตามท้องตลาดผสมกับน้ำ โดยมีอัตราส่วน คือ ปริมาณ 1 ถ้วยตวงของผงฟอกขาว ผสมกับน้ำ 1 แกลลอน (ประมาณ 3. 8 ลิตร)

@หากพบเชื้อราขึ้นเป็นจุด ๆดวงๆ บน วอลเปเปอร์ และ ผนัง อาจใช้ เช็ดแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซนต์ เช็ดทำความสะอาด หรือหากพบว่ามีเชื้อราเป็นจำนวนมาก เกินกว่าจะกำจัดไหว ก็ควรเปลี่ยนวอลเปเปอร์และ ผนังเสียใหม่ดีกว่า

@หากพบเชื้อราขึ้นบน หนังสือ และ เครื่องเรือนประเภทไม้ อย่าใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ด เพราะ น้ำ ทำให้เกิดการสะสมความชื้นอีก และทำให้เกิดเชื้อรามากขึ้น ในการทำความสะอาดผลิตเครื่องเรือนประเภทไม้ อาจใช้ผ้าชุป แอลกอฮอล์ 70 ปอร์เซนต์ หรือ ฟอร์มาลีนเจือจางเช็ด และแล้วปล่อยให้แห้งเอง หากมีเชื้อราขึ้นมากเกินการกำจัด ก็ควรเปลี่ยนไม้ดีกว่าและทิ้งไปเลย ถึงแม้ว่าได้ทาแลกเกอร์เคลือบผิวก็ตาม

@หากพบเชื้อราขึ้นบนเครื่องเรือนและอุปกรณ์ประเภทเครื่องหนังให้ใช้น้ำส้มสายชู เช็ดถู หลาย ๆ ครั้ง เนื่องจากน้ำส้มสายชูมีสภาพเป็นกรดสามารถทำลายเชื้อราได้ หลังจากแห้งแล้วเราสามารถเช็ดทำความสะอาดโดยวิธีอื่นๆเพิ่ม เช่น ใช้น้ำยาทำความสะอาดอีกครั้ง บางกรณีอาจใช้ครีมเช็ดรองเท้ามาเช็ดถูปิดท้าย

@หากพบเชื้อราขึ้นบนเครื่องเรือนและอุปกรณ์ประเภทที่ทำจาก ผ้า เช่น เสื้อผ้า ปอกหมอน ม่านและเครื่อนนอนต่างๆ ให้ต้มน้ำร้อนเดือดฆ่าเชื้อรา ทั้งนี้สามารถใช้วิธีอื่นๆร่วมด้วยเช่น ใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของ โซเดียมไฮโปคลอไรด์แช่ไว้ก่อน หากมีเชื้อราขึ้นมากเกินกำจัด ก็ควรเปลี่ยนและทิ้งไปเลย

@นอกจากนี้หากพบเชื้อราฝังตัวอย่างแน่นหนาตามเครื่องเรือนประเภทไม้ ผนัง วอลเปเปอร์ ที่ไม่สามารถกำจัดออกได้ โดยการขัดล้าง ทำความสะอาด โดยเฉพาะการฝังซ่อนตัวภายในชั้นวัสดุแทรกภายใน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ ไม่ควรทาสีกลบทับเพราะไม่สามารถทำลายสปอร์ที่เหลือได้และอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราขึ้นได้ภายหลัง

5. การทำให้แห้ง

หลังจากทำความสะอาดและฆ่าเชื้อราในบ้านแล้ว ให้ใช้พัดลมเป่าในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ยิ่งไปกว่านั้นควรเปิดหน้าต่าง เปิดประตู เพื่อดึงสปอร์ราที่อยู่ในอากาศในบ้านออกไปนอกตัวบ้านหรืออาคารให้มากที่สุด โดยใช้เวลา พึ่งลมประมาณ 1 ชัวโมง หรือ มั่นใจว่า บ้าน และอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องแห้งสนิทแล้ว หากบ้านไหนมีเครื่องลดความชื้นก็อาจใช้ร่วมด่วย บางกรณีอาจเลือกการทำให้แห้งของอุปกรณ์ต่างๆที่มีขนาดเล็กสามารถใช้เครื่องเปล่าผมไฟฟ้าซึ่งเป็นความร้อนแห้ง ช่วยทำให้แห้งไวขึ้น

6. ตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้ง

ภายหลังจากความสะอาดแล้วผ่านไป 2 ถึง 3 วัน แล้ว ให้ มองหาสังเกตการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งเชื้อราอาจถูกพบและเจริญเติบโตซ้ำได้ ถ้าวัสดุ เครื่องเรือน ดังกล่าวยังไม่แห้งดีพอ ซึ่งมีความชื้นอยู่ ถ้ายังพบเชื้อราอีกให้ทำความสะอาดซ้ำโดยวิธีที่กล่าวด้านบน ข้อ 1-ข้อ 5 โดยเฉพาะบ้านที่ใช้เครื่องปรับอากาศ อาจมีความบกพร่องของเครื่องปรับอากาศ ในการดึงความชื้นออกจากอากาศภายในห้องได้ไม่ดีเท่าที่ควรอาจเป็นสาเหตุหนึ่งในการกลับมาของเชื้อราดังกล่าว ควรเรียกช่างแอร์ทำการแก้ไขโดยด่วน กรณีการตรวจสอบปัจจัยต่างๆโดยละเอียด ถ้ายังพบเชื้อราอีกอาจจะต้องตรวจสอบระบบการระบายอากาศ ระบบแอร์ทั้งหมด ระดับความชื้นภายในอาคารด้วย ระดับอุณหภูมิ และสิ่งแวดล้อมทื่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจต้องมีการนำเครื่องมือเฉพาะทางมาตรวจสอบเชื้อรา หลังจากการเข้าไปพักอยู่อาศัยแล้ว หากมีสมาชิกในบ้านคนใดก็ตาม มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

หมายเหตุ การเก็บตัวอย่างเชื้อรามาตรวจสอบอย่างละเอียดในกรณีที่ต้องการระบุว่าเชื้อราดังกล่าวเป็นตัวทำให้เกิดภูมิแพ้ หรือไม่เช่น เชื้อราชื่อว่า แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส (Aspergillus fumigatus) เป็นเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจ สามารถส่งบริการทั้งต่างประเทศและภายในประเทศ ซึ่งในประเทศไทยการระบุชนิดของเชื้อราและการตรวจเชื้อราทางห้องปฏิบัติการ โดยดูรูปลักษณะสัณฐานวิทยาและใช้เทคนิคเชิงโมเลกุลมาช่วยจำแนก สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านราวิทยาโดยตรง เช่น การบริการการจำแนกเชื้อรา ในมหาวิทยาลัยรัฐบางแห่ง หรือ สถาบันวิจัยของภาครัฐบางแห่ง หรือ หน่วยงานในกำกับของกระทรวงของภาครัฐบางแห่ง เป็นต้น

ขอขอบคุณที่มา – วิชาการ.คอม

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

Home Tip : คู่มือตรวจสอบและซ่อมแซมงานสีหลังน้ำท่วม (ระบบพื้นผิว ปูน, ไม้, เหล็ก) ของ สีTOA
วอลล์เปเปอร์จมน้ำเป็นคราบจะแก้ไขอย่างไร
การใช้ชิวิตกับน้องน้ำ
งบประมาณการซ่อมแซมบ้านหลังน้ำท่วม
เมื่อน้องน้ำมาตายอยู่ข้างบ้านผม!!!
Home Tip : คู่มือพื้นฟูบ้านหลังน้ำท่วม ของ HOME PRO
น้ำท่วมแอร์จะต้องทำอย่างไรดี
น้ำท่วมแล้ว น้ำลดแล้ว บ้านมีปัญหา เริ่มต้นที่ไหนดี ตอนที่2
น้ำท่วมแล้ว น้ำลดแล้ว บ้านมีปัญหา เริ่มต้นที่ไหนดี ตอนที่1
วิธีกำจัดยุงและวิธีดักยุง ช่วงน้ำท่วม
การกำจัดรอยดำของบานประตูหน้าต่าง UPVC เนื่องจากน้ำท่วม
ทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลด ต้องเตรียมอะไรบ้าง
5สิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบอาคารบ้านเรือนหลังน้ำลดเบื้องต้น
เสริมฮวงจุ้ยให้บ้านหลังน้ำลด
บานประตูบวม เนื่องจากน้ำท่วมต้องแก้ไขอย่างไร
เฟอร์นิเจอร์จมน้ำจะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ไหม
การขัดผนังบ้านหลังน้ำลดโดยใช้น้ำEM+กรดสับปะรด
EmBall แท้จริงแล้วใช้ได้ผลจริงๆหรือไม่ ??
ปั๊มน้ำโดนน้ำท่วม ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง
CLIP : การซ่อมแซมงานสีหลังน้ำท่วม ของ TOA
การพื้นฟูสวนและต้นไม้หลังโดนน้ำท่วม
Home Tip : สูตรขัดบ้านหลังน้ำท่วมแบบสะอาดหมดจด
คำเตือนเมื่อน้องน้ำกำลังจะกลับมา (2012)
ราคาค่าแรงและงานจ้างเหมาสำหรับการซ่อมแซมบ้านหลังน้ำท่วมแบบไม่ถูกผู้รับเหมาโก่งราคา
วิธีแกะซิลิโคนออกจากประตูหน้าต่างเมื่อน้ำลด
รวมคู่มือการจัดการบ้านหลังน้ำลดจากหลายหลายสถาบัน
8จุดที่ต้องตรวจเช็คเมื่อส้วมตัน
การจ่ายเงินชดเชยน้ำท่วมปี 54 ครัวเรือนละ 5,000 บาท

About nucifer

วิศวกรโยธาปฎิบัตการ สำนักการโยธา กทม / วิศวกรบริษัทไอเดียแปลนสตูดิโอ ขายแบบบ้านสำเร็จรูปและสร้างบ้านด้วยใจ // รักบอลไทย และ เทคโนโลยี่ // สอบถามเรื่องบ้านได้ครับ