“ 8 จุดที่ต้องตรวจเช็ค เพื่อการแก้ปัญหาส้วมตัน ส้วมราดไม่ลง หรือใช้งานไม่ได้ อย่างตรงจุด”
เรื่องส้วมดูจะเป็นปัญหาที่หนักหนาอีกประการหนึ่ง ทั้งในขณะที่น้ำท่วมก็มักจะราดไม่ลง หรือแม้ว่านํ้าลดแล้วส้วมของเราก็มักยังเป็นปัญหาอยู่ อาจจะเป็นปัญหาดั้งเดิม หรือเป็นปัญหาเกิดใหม่ จึงขอสรุปรวมปัญหาที่เกิดกับส้วม และแบ่งจุดที่ควรตรวจเช็คออกเป็น 8 ข้อ ดังต่อไปนี้
- เช็คระบบของส้วมเรา ถ้าเป็นส้วมระบบบ่อเกรอะ-บ่อซึม (หมายถึงเมื่อของเสียย่อยสลายแล้ว จะซึมผ่านสู่พื้นดิน ระบบนี้เป็นระบบ ที่นิยมกันทั่วประเทศ เป็นเวลานาน) ให้สำรวจบ่อซึมว่าวางอยู่ตรงบริเวณที่พื้นดินชื้นแฉะหรือไม่ เพราะบ่อซึมจะไม่สามารถซึมนํ้าออกในบ่อออกไปได้ และในยามที่นํ้าท่วม นํ้าที่ท่วมนั้นก็จะไหลย้อนกลับเข้ามาในบ่อและระบบย่อยสลายอีกด้วย ปัญหาที่ตามมาก็คืออาการราดส้วมไม่ลง ใช้ส้วมไม่ได้ ส้วมจะเต็มอยู่บ่อยๆ นั่นเอง แก้ไขได้ 2 ประการคือ หากพื้นดินชื้นแฉะเพราะนํ้าท่วม ก็รอดูอาการสักนิดให้พื้นดินแห้งก่อนปัญหาต่างๆ ก็จะดีขึ้น แต่หากพื้นดินบริเวณนั้นชื้นแฉะตามธรรมชาติ ก็ควรเปลี่ยนระบบ มาเป็นระบบเครื่องกลสำหรับย่อยสลาย หรือ ถังส้วมสำเร็จ ซึ่งจะทำหน้าที่ ย่อยสลายปฏิกูล ต่าง ๆจนเป็น นํ้าสะอาด แล้วก็ปล่อยลง ท่อระบายนํ้าสาธารณะได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
- เช็คระดับของโถส้วม ถ้าอยู่ระดับต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับระดับบ่อเกรอะ หรือถังส้วมสาเร็จรูป จะทำให้ระนาบของท่อส้วม ไหลไม่สะดวก หรือบางครั้งอาจจะมีอาการไหลย้อนกลับ โดยเฉพาะในยามนํ้าท่วมทำให้ระดับนํ้าตรงถังส้วมสูงกว่า ระดับโถส้วม เป็นอีกสาเหตุของการเกิดอาการ ราดไม่ลง หรือตอนกดนํ้าและราดนํ้าที่โถส้วมทำให้ในโถส้วมมีแรงดันสูงมากขึ้น หากนํ้าไม่สามารถไหลลงไปได้ก็จะเกิดอาการแรงดันย้อนกลับ ทำให้ของเสียทั้งหลายอาจกระฉอกขึ้นเปรอะเปื้อนได้
- เช็คท่อส้วม เพราะอาจเกิดการแตก หรืออาจไปฝังในพื้นดิน ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น และราดส้วมไม่ค่อยลง เพราะไปเกี่ยวข้อง กับสภาพแวดล้อมภายนอกอย่างมาก
- เช็คท่ออากาศ บางท่านอาจจะลืมใส่ท่ออากาศให้ส้วมหายใจ เวลาราดนํ้าจะราดไม่ลง เปรียบได้กับการพยายาม กรอกนํ้าใส่ขวด โดยไม่มีช่องอากาศ เหลือเลยที่ปากขวดก็จะกรอกนํ้าไม่ลงเช่นกัน บางบ้านอาจจะมีท่ออากาศ แต่ท่ออากาศอาจอุดตันได้ ไม่ว่าจะเกิดจากความสกปรก หรือเกิดจาก เศษผง เล็กลอยมาอุดตอนที่นํ้าท่วมก็ได้
- เช็คขนาดของบ่อเกรอะบ่อซึม หรือถังบาบัดสำเร็จรูป ว่ามีขนาดเล็กเกินไปหรือไม่ หลายครั้งพบปัญหา เพราะใช้อาคาร ผิดประเภท เช่น ออกแบบไว้สำหรับคนในบ้าน 5 คน แต่พอใช้งานจริงกลับมีถึง 8-9 คน ปริมาณของเสียต่าง ๆ จึงมากกว่าอุปกรณ์ที่เตรียมรองรับ ถังส้วมจึงอาจเต็มบ่อยเต็มเร็ว เพราะมีช่องว่างน้อย ถ้าเป็นระบบบ่อซึม ก็มีพื้นผิวการซึมนํ้าออกน้อย นํ้าจึงซึมออกไม่ทัน
- เช็คท่อส้วมว่ามีสิ่งอุดตันหรือไม่ อาจมีผู้ใช้งานบางท่านใส่สิ่งของที่ไม่น่าจะใส่ลงในโถส้วม หรือสิ่งของบางอย่างอาจจะลอยมากับนํ้าท่วม เช่นแผ่นผ้าอนามัย ถุงยางอนามัย ถุงมืออนามัย หรือ แปรงขัดส้วมอนามัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ จะไม่ย่อยสลาย และเป็นสาเหตุ แห่งการอุดตัน
- เช็คการใช้งานของถังบำบัดสำเร็จรูป เพราะบางรุ่นบางยี่ห้อ ต้องใช้เครื่องมือกลเข้าปั่นอากาศเข้าไปช่วยการย่อยสลาย ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเป็นตัวหนุนมอเตอร์ ในขณะที่นํ้าท่วมบางบ้านอาจจะปิดไฟฟ้าไว้ ดังนั้นเพียงเปิดระบบไฟฟ้าและลืมเสียบปลั๊กไฟฟ้า ก็สามารถกลับมาใช้งานได้แล้ว
- เช็คท่อให้น้ำไหล ถังบำบัดสำเร็จรูปทุกยี่ห้อ จะต้องมีท่อน้ำไหลออกจากถังบำบัดสู่ท่อระบายนํ้าในบ้านเรา หรือสู่ท่อสาธารณะ จะต้องตรวจเช็คว่า ระดับของท่อที่ออกจากถังบำบัด ว่าต้องสูงกว่าระดับท่อระบายนํ้าเสมอ มิเช่นนั้น จะเกิดอาการ ไหลย้อนกลับได้เช่นกัน