วันนี้ได้ไปพบบทความดีๆจากรองศาสตราจารย์ ดร. อมร พิมานมาศ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมโครงสร้างและสะพาน วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
ท่านได้แบ่งการตรวจสอบบ้านเป็น 5 ข้อสำคัญดังนี้ครับ
1. ระบบโครงสร้าง
โครงสร้างอาคารบ้านเรือนของท่านอาจจะได้รับความเสียหายเนื่องจากน้ำท่วมได้เพราะ (1) แรงดันน้ำดันให้
โครงสร้างอาคารเสียหายหรือแตกร้าว (2) น้ำชะเอาดินที่รองรับฐานรากออกไปทำให้บ้านทรุดหรือเคลื่อนออกจาก
ตำแหน่ง (3) ดินที่ชุ่มน้ำ กำลังรับน้ำหนักจะหายไปประมาณครึ่งหนึ่ง (3) น้ำดันให้พื้นปูด แตกร้าวเสียหายได้
ดังนั้นให้ท่านสำรวจรายการดังต่อไปนี้เป็นเบื้องต้น
(ก) ผนังอิฐ ถูกแรงดันน้ำ แตกร้าวเสียหายหรือไม่
(ข) คาน เสา ที่ทำจากปูนมีรอยกะเทาะหลุดของคอนกรีตหรือไม่ มีรอยแตกร้าว หรือมีคราบสนิมเหล็กหรือไม่
ข้อสังเกต โครงสร้างที่จมอยู่ใต้น้ำเลยนั้น จะไม่เกิดสนิมเนื่องจากไม่มีก๊าซอ็อกซิเจน แต่โครงสร้างบริเวณ
ใกล้ผิวน้ำจะเกิดสนิมได้ง่ายเนื่องจากมีก๊าซอ็อกซิเจน
(ค) คานไม้หรือเสาไม้ หลุด หัก หรือขาดออกจากกันหรือไม่
(ง) พื้นคอนกรีตปูดขึ้น แตกร้าวเสียหายหรือไม่
(จ) ฐานรากคอนกรีตโผล่ขึ้นมาเหนือดินหรือไม่
(ฉ) บ้านทรุด เอียง โย้ หรือเคลื่อนที่หรือไม่
(ช) รัว้ บ้านเอียง หรือไม่
หากชิ้นส่วนโครงสร้างต่างๆ ของท่านยังอยู่ดี ไม่มีอาการในข้อ (ก) – (ช) ปรากฎก็สบายใจได้ระดับหนึ่งว่า
โครงสร้างอาคารของท่านยังแข็งแรงอยู่ แต่หากท่านพบอาการใดอาการหนึ่งหรือหลายๆอาการในข้อ (ก)-(ช)
โปรดอย่านิ่งนอนใจ ควรรีบปรึกษาวิศวกรด่วน
2. ระบบสถาปัตยกรรม
หมายถึงระบบสิ่งของตบแต่งโครงสร้างอาคารของท่านได้แก่
(ก) ประตู หรือ หน้าต่างที่ทำจากไม้ อาจจะอมน้ำทำให้บวม มีน้ำหนักมากขึ้นจนประตูเอียงหรือหลุด ห้าม
นำไปตากแดด เพราะจะทำให้ไม้กรอบ แตก หรือผุได้ แต่ควรจะปล่อยให้แห้งตามธรรมชาติ เช่นการนำ
ผึ่งลมหรือสถานที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี
(ข) วงกบไม้ที่แช่น้ำอยู่นาน อาจจะบวมหรือไม้ผุจนใช้การไม่ได้ อาจต้องเปลี่ยนอันใหม่
(ค) น็อตหรือตะปูต่างๆที่ขึ้นสนิมควรเปลี่ยนใหม่
(ง) พื้นไม้ปาร์เกต์ อาจดูดน้ำจนบวม หรือ บิด กาวที่ใช้ทาจะถูกน้ำชะให้เนื้อกาวเสื่อม ทำให้พื้นไม้หลุดร่อน
ออกมา สำหรับไม้แผ่นที่ยังสภาพดีอยู่ให้ปล่อยจนแห้งสนิทก่อนจากนั้น ติดกาวลาเท็กซ์เข้าไปใหม่ ส่วน
แผ่นไม้ที่บิดงอจนใช้การไม่ได้แล้วนั้น ให้เปลี่ยนแผ่นใหม่
(จ) สี วอลเปเปอร์ จะได้รับความเสียหาย เกิดอาการหลุดร่อน พอง บวม ขึ้นรา จะต้องทาสีใหม่ แต่ก่อนทา
ใหม่ควรขูดลอกสีเก่าออกให้หมดเสียก่อน รอให้พื้นผิวแห้งสนิท ทารองพื้นปูนเก่า แล้วทาสีใหม่ทับ
(ฉ) ผนังยิบซัมบอร์ด หรือ ฝ้าเพดานที่ทำจากยิปซัมบอร์ด จะดูดน้ำจนเปื่อยยุ่ยใช้การไม่ได้ ให้เลาะออกแล้ว
เปลี่ยนอันใหม่
(ช) เฟอร์นิเจอร์ เช่น โต๊ะไม้ เตียงไม้ ควรปล่อยให้แห้งให้เร็วที่สุดโดยใช้ลม หรือผึ่งอากาศให้แห้ง แต่หาก
เป็นพวกโซฟา หมอน ผ้าห่ม ที่อมน้ำมากๆ อาจเป็นที่สะสมเชื้อโรค จึงไม่ควรใช้อีกต่อไป
(ซ) พรม ควรรื้อใหม่ทัง้ หมด รีบนำไปซักและตากแห้งโดยเร็ว อย่าปล่อยทิ้งไว้นานเพราะเป็นแหล่งสะสมของ
เชื้อโรคได้
(ฌ) กระเบื้อง แกรนิต หินอ่อน หินขัด ปกติแล้วจะไม่เสียหาย เพียงแค่ทำความสะอาดก็พอ
(ญ) ไม้อ้ด ไม้พาร์ทิเคิลบอร์ด เมื่อโดนความชื้นแล้วจะบวม จากนั้นราจะขึ้น ควรเปลี่ยนใหม่
ข้อพึงระวังสำหรับระบบสถาปตั ยกรรมคือความชื้นที่สะสมอยู่และกำจัดไม่หมด การติดตัง้ อุปกรณ์ใหม่แทน
ของเดิม เช่น การทาสีใหม่ ติดวอลเปเปอร์ การติดตัง้ บานประตูใหม่ หรือการติดตัง้ ผนังยิบซัมบอร์ดนั้น ก่อนติด
จะต้องมัน่ ใจว่า ผนังเดิมที่จะทาสีนั้น หรือ บานวงกบที่จะรองรับประตูนั้น แห้งสนิทแล้วจริงๆ มิฉะนั้นความชื้นที่
สะสมอยู่อาจทำให้เกิดเชื้อรา หรือ ผุพัง หลุดร่อน ติดไม่สนิท ตามมาในอนาคต
3. ระบบไฟฟ้า
(ก) เครื่องใช้ไฟฟ้าที่แช่น้ำ เช่นตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เมื่อน้ำลดแล้วอาจจะใช้การไม่ได้ แม้จะ
แห้งแล้วก็ตาม ควรเรียกช่างมาตรวจสอบและซ่อมแซม
(ข) ที่ตู้ไฟฟ้า ควรตรวจสอบว่ามีวงจรใดมีปญั หาหรือไม่ทำงานบ้าง โดยดึงคันโยกสวิตซ์หลักและคันโยกของ
วงจรย่อยทุกวงจรลงเสียก่อน จากนั้น ดึงคันโยกสวิตซ์หลักขึ้นก่อน แล้วยกคันสวิตซ์ของวงจรย่อย (เซอร์
กิตเบรคเกอร์) ขึ้น หากคันโยกตกลงแสดงว่าวงจรย่อยนั้นมีปญั หา ส่วนอันไหนที่ไม่ตกแสดงว่าใช้งานได้
ตามปกติ
(ค) สำหรับบ้านที่ใช้คัทเอาท์หรือสะพานไฟ เมื่อแน่ใจว่ามีความปลอดภัยแล้ว เช่นไม่พบสายไฟห้อยอยู่ในน้ำ
การทดสอบระบบไฟทำได้โดยยกคันโยกสะพานไฟขึ้น หากฟิวส์ขาดแสดงว่าจุดใดจุดหนึ่งยังมีปญั หาอยู่
เช่น อาจมีความชื้นสะสมอยู่ ให้เปลี่ยนฟิวส์แล้วรอ 1-2 วันจากนั้นให้ลองยกคันสะพานไฟขึ้นใหม่ หาก
เป็นเช่นเดิม ควรเรียกช่างไฟมาดู
(ง) ตรวจสอบสายไฟ ปลัก๊ สวิตซ์ โดยเฉพาะอันที่ถูกน้ำท่วม ให้ถอดออกมาทำความสะอาดและทำให้แห้ง
เสียก่อน จากนั้นใส่กลับคืน หรือเปลี่ยนอันใหม่ ก่อนจะทำงานไฟฟ้าทัง้ หลาย ต้องตัดไฟเสียก่อน หากไม่
แน่ใจอย่าทำเอง ควรเรียกช่างไฟฟ้ามาจะดีกว่า
4. ระบบเครื่องกล
ควรตรวจสอบคอยล์ร้อนของเครื่องปรับอากาศซึ่งอยู่ด้านนอกของบ้านอาจถูกนํ้าท่วมเสียหาย
ได้รวมทั้งปั๊มน้ำที่อาจได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมเช่นกัน
5. ระบบสุขาภิบาล
น้ำท่วมอาจนำพาคราบโคลน และสิ่งสกปรกมาอุดตันในท่อระบบสุขาภิบาลต่าง เช่น
(ก) ท่อระบายน้ำอาจมีโคลนอุดตันทำให้น้ำระบายออกนอกบ้านไม่ได้ ต้องขุดลอกขจัดสิ่งอุดตันทิ้งไป
(ข) ท่อประปาต้องทำความสะอาด เนื่องจากระหว่างน้ำท่วมอาจมีน้ำสกปรกไหลเข้ามาปน การทำความ
สะอาดเพียงแต่เปิดน้ำประปาไหลผ่านท่อสักระยะเท่านั้น อย่าเสียดายน้ำ
(ค) ท่อที่แตกหักเสียหาย หรือรัว่ ซึม ควรทำการซ่อมแซมให้กลับคืนดังเดิม
ที่ผมเขียนมาทัง้ หมดนั้นก็คงเป็นการสำรวจความเสียหายในเบื้องต้นเท่านั้น ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ
ท่านบ้างไม่มากก็น้อยครับ โชคดีทุกท่านครับ